หน่วยที่ 1
เทคโนโลยีพื้นเพื่อการศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้สำหรับครู
เทคโนโลยีการศึกษา........คำว่า "เทคโนโลยี”(Technology) มาจากรากศัพท์ "Technic" หรือ "Techno" ซึ่งมีความหมายว่า วิธีการ หรือการจัดแจงอย่างเป็นระบบ รวมกับ "logy" ซึ่งแปลว่า “ศาสตร์” หรือ “วิทยาการ” ดังนั้น คำว่า "เทคโนโลยี" ตามรากศัพท์จึงหมายถึง ศาสตร์ว่าด้วยวิธีการหรือศาสตร์ที่ว่าด้วยการจัดการ หรือการจัดแจงสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดระบบใหม่และเป็นระบบที่สามารถนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์ที่ตั้งใจไว้ได้ ซึ่งก็มีความหมายตรงกับความหมายที่ปรากฏในพจนานุกรม คือ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ดังนั้น เทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นการจัดแจงหรือการประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์กายภาพมาใช้ในกระบวนการของการศึกษา ซึ่งเป็นพฤติกรรมศาสตร์ โครงสร้างมโนมติของเทคโนโลยีการศึกษาจึงต้องประกอบด้วย มโนมติทางวิทยาศาสตร์กายภาพ มโนมติทางพฤติกรรมศาสตร์ โดยการประสมประสานของมโนมติอื่นที่เกี่ยวข้อง
ตัวอย่างเช่น การประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์กายภาพทางวิศวกรรมและทางเคมีได้เครื่องพิมพ์และหมึกพิมพ์ สามารถผลิตหนังสือตำราต่างๆ ได้ และจากการประยุกต์หลักพฤติกรรมศาสตร์ทางจิตวิทยา จิตวิทยาการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้และหลักความแตกต่างระหว่างบุคคล ทำให้ได้เนื้อหาในลักษณะเป็นโปรแกรมขั้น ย่อย ๆ จากง่ายไปหายาก เมื่อรวมกันระหว่างวิทยาศาสตร์กายภาพและพฤติกรรมศาสตร์ในตัวอย่างนี้ ทำให้เกิดผลิตผลทางเทคโนโลยีการศึกษาขึ้น คือ "ตำราเรียนแบบโปรแกรม".........อีกตัวอย่างหนึ่งการประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพเกี่ยวกับแสง เสียงและอิเล็กทรอนิกส์บนพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ใช้ระบบเลขฐานสองทำให้ได้เครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อประสมประสานกับผลการประยุกต์ทาง พฤติกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้ หลักความแตกต่างระหว่างบุคคล
หลักการวิเคราะห์งาน และทฤษฎีสื่อการเรียนการสอนแล้วทำให้ได้ผลผลิตทางเทคโนโลยีการศึกษา
คือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction: CAI)
.......จากข้อพิจารณาดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษามีสองลักษณะที่เน้นหนักแตกต่างกันคือ
......1. เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การประยุกต์หลักการวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์ให้เป็นวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการเสนอ แสดง และถ่ายทอดเนื้อหาทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความหมายนี้พัฒนามาจากความคิดของกลุ่มนักโสต-ทัศนศึกษา
......2. เทคโนโลยีการศึกษามีความหมายโดยตรงตามความหมายของเทคโนโลยี คือ ศาสตร์แห่งวิธีการ หรือการประยุกต์วิทยาศาสตร์มาใช้ในการศึกษา โดยคำว่า”วิทยาศาสตร์”ในที่นี้มุ่งเน้นที่วิชาพฤติกรรมศาสตร์ เพราะถือว่าพฤติกรรมศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งเช่นเดียวกับวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา
เป็นต้น
........เทคโนโลยีการศึกษามีความสำคัญและมีความจำเป็นที่เด่นชัดในปัจจุบันนี้ คือ การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ มาใช้ในกระบวนการศึกษาด้วยเหตุผลสำคัญดังต่อไปนี้
.......1. ความเจริญอย่างรวดเร็วทางด้านวิชาการต่างๆ ของโลก โดยเฉพาะระยะหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา วิทยาการใหม่ ๆ และสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ได้ถูกค้นคิดประดิษฐ์ขึ้นมาใช้ในสังคมมากมายเป็นทวีคูณ ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวทางด้านหลักสูตรการเรียนการสอนของสถานศึกษา และส่งผลเป็นลูกโซ่ต่อไปถึงปัญหาการเรียนการสอน การเลือกโปรแกรมและการทำความเข้าใจกับเนื้อหาสาระใหม่ๆ ของนักเรียน ความรุนแรงและความสลับซับซ้อนของปัญหาเหล่านี้มีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปริมาณเนื้อหาวิชาการใหม่ ๆ มีมากมายเกินความสามารถของผู้เกี่ยวข้อง จะเลือกบันทึกจดจำและนำเสนอในลักษณะเดิมได้ จึงมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับสถานการณ์เข้ามาช่วย เช่น การเสนอข้อมูลทางวิชาการโดยเทปบันทึกเสียง เทปบันทึกภาพ ไมโครฟอร์ม และแผ่นเลเซอร์ การแนะแนวการเรียนโดยระบบคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
.......2. การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคม ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากพัฒนาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดังกล่าวมาแล้ว มีผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต การปรับตัว และพัฒนาการของนักเรียน การแนะแนวส่วนตัวและสังคมแก่นักเรียน จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับสถานการณ์นั้น ๆ จึงจะสามารถให้บริการครอบคลุมถึงปัญหาต่าง ๆ ได้
........3. ลักษณะสังคมสารสนเทศหรือสังคมข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเป็นผลมาจากพัฒนาการทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีโทรคมนาคม ทำให้ข่าวสารทุกรูปแบบ คือ เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว กราฟฟิก และข้อมูลคอมพิวเตอร์สามารถถ่ายทอดและส่งถึงกันได้อย่างรวดเร็วทุกมุมโลก สังคมในปัจจุบันและอนาคตจะเป็นสังคมที่ท่วมท้นด้วยกระแสข้อมูลและข่าวสารข้อมูลและข่าวสารจำนวนมหาศาลจะอยู่ที่ความต้องการของผู้ใช้อย่างง่ายดายมาก ความจำเป็นที่สถานศึกษาจะต้องเป็นแหล่งให้ข้อมูลข่าวสารจะหมดความสำคัญลง การแนะแนวในสถานศึกษาจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากการ
ทำตัวเป็นแหล่งให้ข้อมูลมาเป็นการแนะแหล่งข้อมูล แนะนำการเลือกและการใช้ข้อมูลในการแก้ปัญหาและการคิดสร้างสรรค์ ซึ่งบทบาทอย่างนี้จะทำให้สำเร็จได้ยากหากไม่สามารถใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเชื่อมต่อกับระบบสารสนเทศในปัจจุบันมีผู้ให้คำนิยามของคำว่า
เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology) ไว้ดังนี้วิจิตร ศรีสอ้าน (วิจิตร ,2517)ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีการศึกษาเป็นการประยุกต์เอาเทคนิควิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ๆ มาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษาทั้งในด้านการขยายงานและด้านการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ,2546)ยังได้สรุปเพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนว่า "เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา" มีความหมายครอบคลุมการผลิต การใช้ และการพัฒนาสื่อสารมวลชน(อันได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์) เทคโนโลยีสารสนเทศ(คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต มัลติมีเดีย) และโทรคมนาคม (โทรศัพท์ เครือข่ายโทรคมนาคมและการสื่อสารอื่นๆ) เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ได้ตามความต้องการของผู้เรียนในทุกเวลาและทุกสถานที่ทบวงมหาวิทยาลัย (ทบวงมหาวิทยาลัย,2546) นิยามว่า "เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา" เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการศึกษา โดยการนำสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคม และการจัดแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มาใช้เพื่อจัดให้การศึกษาที่สามารถผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าได้ตามความต้องการ เพื่อให้การเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตทั้งด้านการศึกษาสาระความรู้ทางวิชาการ ทางศาสนา และศิลปะ วัฒนธรรม สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาตามความหมายของทบวงมหาวิทยาลัยนั้น ครอบคลุมสื่อวิทยุกระจายเสียง สื่อวิทยุโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตโทรสาร โทรศัพท์ และโทรคมนาคมอื่นรวมทั้งแหล่งการเรียนรู้ทั่วไป โดยมุ่งเน้นที่จะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้เต็มตามศักยภาพ ปราศจากข้อจำกัดด้านโอกาส ถิ่นที่อยู่ ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม"เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา" ตามความหมายของร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติ หมายถึง การนำสื่อตัวนำ คลื่นความถี่ และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการแพร่เสียง ภาพ และการสื่อสารในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ทั้งการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยครอบคลุมสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคม สื่อโสตทัศน์ แบบเรียน ตำรา หนังสือทางวิชาการและแหล่งการเรียนรู้หรือเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่นตามที่คณะกรรมการสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติกำหนดCarter V. Good(good,1973) กล่าวว่า เทคโนโลยีการศึกษาหมายถึง การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอน โดนเน้นที่วัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดหลักผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนมากกว่ายึดเนื้อหาวิชามีการใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติโดยผ่านการวิเคราะห์และการใช้โสตทัศนูปกรณ์รวมถึงเทคนิคการสอนโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ สื่อการสอนต่างๆ ในลักษณะของสื่อประสมและการศึกษาด้วยตนเองGagne' และ Briggs (gagne',1974)ให้ความหมายว่า
เทคโนโลยีการศึกษานั้น พัฒนามาจากการออกแบบการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ โดยรวมถึง
.......1.ความสนใจในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลในเรื่องของการเรียนรู้ เช่น บทเรียน แบบโปรแกรม และ บทเรียนการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย เป็นต้น
.......2.ด้านพฤติกรรมศาสตร์และทฤษฏีการเรียนรู้ เช่น ทฤษฏีการเสริมแรงของ B.F. Skinner
.......3.เทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ เช่น โสตทัศนูปกรณ์ประเภทต่างๆ รวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์ด้วยHeinich,MolendaและRussel(Heinich,1989) เสนอว่า เทคโนโลยีการศึกษาคือการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ให้ปฏิบัติได้ในรูปแบบของการเรียนและการสอนอีกนัยหนึ่งก็คือ การใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (ทั้งด้านยุทธวิธี Tactic และด้านเทคนิค) เพื่อแก้ปัญหาทางการสอนซึ่งก็คือความพยายามสร้างการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการออกแบบ ดำเนินการและประเมินผลการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ บนพื้นฐานของการศึกษาวิจัยในการเรียนและการสื่อสารกิดานันท์ มลิทอง(2545) ปัจจุบันนี้สมาคมเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและการสื่อสารได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เป็นทฤษฏีและการปฏิบัติของการออกแบบ การพัฒนาการใช้ การจัดการ และการประเมิน ของกระบวนการและทรัพยากรสำหรับการเรียนรู้แนวคิดของเทคโนโลยีการศึกษาจึงประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 กลุ่ม คือ การออกแบบ(design) การพัฒนา (Development) การใช้(utilization)การจัดการ (management)และการประเมิน(evaluation)ซึ่งแต่ละกลุ่มจะโยงเข้าสู่ศูนย์กลางของทฤษฏีและปฏิบัติดังนั้นเทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นผสมผสานกันระหว่างความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์เป็นการประยุกต์เอาแนวคิดความคิด เทคนิค วิธีการ วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งต่างๆ อันสืบเนื่องมาจากเทคโนโลยีมาใช้ในวงการศึกษานั้นเองเห็นได้ชัดเจนว่า "เทคโนโลยีการศึกษา" ครอบคลุมความหมายกว้างขวาง ซึ่งในภาษาสากลนั้น คำว่า Educational Technology มีความหมายรวมถึงเทคโนโลยีการสอน(Instructional Technology) เทคโนโลยีการเรียนรู้ (Learning Technology) สื่อการศึกษา (Educational Media) และคำอื่นๆ ที่มีความหมายอย่างเดียวกันเข้าไว้ด้วย แต่คำว่า Educational Technology) และ Instructional Technology ดูจะได้รับการยอมรับมากที่สุด โดยมักจะถูกใช้ในความหมายอย่างเดียวประวัติและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษาประวัติของเทคโนโลยีการศึกษา
.........เทคโนโลยีได้ถูกนำมาใช้ทางการศึกษานับตั้งแต่สมัยก่อนคริสตกาล มีการกล่าวถึงนักเทคโนโลยีทางการศึกษาพวกแรก คือกลุ่มโซฟิสต์ (The Elder sophist) ที่ใช้วิธีการสอนการเขียน เช่น การใช้มือวาด การเขียนสลักลงบนไม้ ส่วนการใช้ชอล์คเขียนบนกระดานดำได้เริ่มขึ้นในทศวรรษที่ 1800 สำหรับการใช้เทคโนโลยีทางสื่อโสตทัศน์(audio visual) นั้น สามารถนับย้อนหลังไปได้ถึงต้นทศวรรษที่ 1900 ในขณะที่โรงเรียนและพิพิธภัณฑ์หลายๆ แห่งเริ่มมีการจัดสภาพห้องเรียนและการใช้สื่อการสอนประเภทต่างๆ เช่น ใช้สื่อการสอนประเภทต่างๆ เช่น ใช้สื่อภาพ ภาพวาด ภาพระบายสี สไลด์ ฟิล์ม วัตถุ และแบบจำลองต่างๆ และแบบจำลองต่างๆ เพื่อเสริมการบอกเล่าทางคำพูดต่อ Thomas A. Edison ได้ผลิตเครื่องฉายภาพยนตร์ขึ้นในปี ค.ศ. 1913 เขาได้เล็งเห็นประโยชน์ของภาพยนตร์ในการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก จนถึงขั้นเขียนไว้เป็นหลักฐานว่า "ต่อไปนี้ หนังสือจะกลายเป็นสิ่งที่หมดสมัยในโรงเรียน เพราะเราสามารถใช้ภาพยนตร์ในการสอนความรู้ทุกสาขาได้ ระบบโรงเรียนจะต้องเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิงภายในสิบปีข้างหน้า" แต่ปัจจุบันแม้มีเทคโนโลยีสมัยใหม่ก็ยังไม่สามารถล้มล้างเทคโนโลยีดั้งเดิมเช่น การใช้หนังสือในการเรียนการสอนได้
.........ในช่วงทศวรรษที่ 1920 - 1930 เริ่มมีการใช้เครื่องฉายภาพแบบข้ามศีรษะ (overhead projector) เครื่องบันทึกเสียง วิทยุกระจายเสียง และภาพยนตร์ เข้ามาเสริมการเรียนการสอนวิทยุกระจายเสียงจึงเป็นสื่อใหม่ที่ได้รับความนิยม สำหรับกิจการกระจายเสียงในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ราวปี ค.ศ.1921 การเริ่มขออนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงในยุคแรก ๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา และเริ่มมีการใช้วิทยุกระจายเสียงเพื่อการสอนทางไกลช่วงทศวรรษที่ 1930 แต่ต่อมาระบบธุรกิจเข้าครอบงำมากขึ้นจนวิทยุเพื่อการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ในสภาวะที่ตกต่ำลง
........ในช่วงทศวรรษที่ 1950 วิทยุโทรทัศน์เกิดเป็นปรากฏการณ์ใหม่ในสังคมตะวันตกซึ่งสามารถใช้เป็นสื่อเพื่อการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิทยุโทรทัศน์จึงมีบทบาทสำคัญและกลายเป็นเทคโนโลยีแถวหน้าของสังคมนับแต่บัดนั้น นักวิชาการบางท่านถือว่าช่วงระหว่างทศวรรษที่ 1950 ถึง 1960 นี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในแวดวงเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเนื่องจากการก่อกำเนิดของวิทยุโทรทัศน์ และยังได้มีการนำเอาทฤษฎีทางด้านสื่อสารมวลชนและทฤษฎีระบบเข้ามาใช้ในวงการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอีกด้วย ดังนั้น ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1950 จึงมีการใช้คำว่า "การสื่อสารทางภาพและเสียง" หรือ "audio-visual communications" แทนคำว่า "การสอนทางภาพและเสียง" หรือ "audio-visual instruction" ซึ่งย่อมเป็นเครื่องชี้ชัดประการหนึ่งว่า เทคโนโลยีการสื่อสารนั้น คือเครื่องมือสำคัญในการถ่ายทอดการเรียนการสอนนั่นเอง
.........ในทวีปยุโรป วิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาเริ่มต้นในช่วงต้นทศวรรษที่ 1950 โดย British Broadcasting Corporation หรือ BBC ในปี ค.ศ. 1958 ประเทศอิตาลีก็ริเริ่มบ้างโดยมีการสอนตรงผ่านสื่อวิทยุโทรทัศน์ผ่าน Telescuola (Television School of the Air) ส่วนประเทศในเครือคอมมิวนิสต์ได้มีโอกาสรับชมรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาเป็นครั้งแรกในปี 1960 นำโดยประเทศยูโกสลาเวีย ตามติดด้วยประเทศโปแลนด์ สำหรับประเทศ โซเวียตนั้น ได้เริ่มออกอากาศรายการทั่วไปและรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาเมื่อปี 1962ในปี 1965 ประเทศอื่นๆ ในยุโรปตะวันออกก็ได้ทำการออกอากาศรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาโดยผ่านดาวเทียมกันอย่างแพร่หลาย
.........ปี ค.ศ. 1962 ประเทศจีนคอมมิวนิสต์ริเริ่มทำการสอนในวิชาต่างๆ เช่น เคมี ฟิสิกส์ในระดับมหาวิทยาลัย โดยผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์เซี่ยงไฮ้ นอกจากนั้นสถานีวิทยุโทรทัศน์อื่น ๆ เช่น ในปักกิ่ง เทียนสิน และกวางตุ้ง ต่างก็เผยแพร่รายการมหาวิทยาลัยทางโทรทัศน์ (Television Universities) เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนในระดับชาติเพื่อการศึกษาสำหรับประชาชน อย่างไรก็ตามประเทศญี่ปุ่นได้รับการยกย่องว่าเป็นประเทศแรกในโลกทีมีการบูรณาการการใช้วิทยุโทรทัศน์เข้ากับโครงสร้างของการศึกษานับตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัย และยังรวมถึงการให้การศึกษาผู้ใหญ่ในสาขาวิชาต่างๆ อย่างกว้างขวางด้วย ก่อนสิ้นปี 1965 ประเทศญี่ปุ่นมีสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาออกอากาศทั่วประเทศเป็นจำนวนถึง 64 สถานี
.........ประเทศในอเมริกาใต้ เริ่มดำเนินการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษานับตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1950 นำโดยประเทศโคลอมเบีย ซึ่งทำการออกอากาศวิชาต่างๆ ในระดับประถมศึกษาอย่างเต็มรูปแบบระหว่างชั่วโมงเรียนปกติโดยผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ ต่อมาประเทศโคลอมเบียได้รับความช่วยเหลือจากโครงการอาสาสมัครเพื่อสันติภาพจากประเทศสหรัฐอเมริกา จึงเป็นผลให้ประเทศโคลอมเบียกลายเป็นแบบอย่างของวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาในเวลาต่อมา
........แม้ว่าการเติบโตของวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาจะเกิดขึ้นทั่วโลกก็ตาม การพัฒนาที่เด่นชัดที่สุดเห็นจะได้แก่ประเทศสหรัฐอเมริกา การทดลองครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาเกิดขึ้นที่ lowa University ในช่วงระหว่างปี 1932-1939 โดยมีการผลิตรายการในวิชาต่างๆ เช่น วิศวกรรมศาสตร์ พฤกษศาสตร์ ศิลปะ การละคร และชวเลข เป็นต้น มหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกา 5 แห่งที่ถูกจัดว่าเป็นผู้บุกเบิกในวงการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาของประเทศ ได้แก่
lowa University ที่ lowa City, lowa State University ที่ Ames, Kansas State University, University of Michigan และ American University การเติบโตของวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วง ค.ศ. 1953-1967 นับว่าสูงมาก เพราะมีสถานีวิทยุโทรทัศน์ เพื่อการศึกษาทั่วประเทศเป็นจำนวนถึง 140 สถานี เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากร 140 ล้านคนในขณะนั้น มีการคาดคะเนว่า ในช่วงเวลาดังกล่าว รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาสามารถเข้าถึงโรงเรียนได้ไม่ต่ำกว่า 2,000 โรง และเข้าถึงนักเรียนระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ได้ไม่ต่ำกว่า 15 ล้านคนทีเดียว.........เทคโนโลยีการศึกษาและการสื่อสารได้มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาขึ้นอย่างมากในช่วงปลายทศวรรษที่ 1960 เมื่อโลกได้หันเข้ามาสู่ยุคของคอมพิวเตอร์ ในด้านการศึกษานั้น ได้มีการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนเป็นครั้งแรกในปี 1977 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อบริษัท APPLE ได้ประดิษฐ์เครื่อง APPLE II ขึ้น โดยการใช้ในระยะแรกนั้นมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการบริหารจัดการ ต่อมาได้มีการพัฒนาโปรแกรมต่างๆ เพื่อให้ใช้ได้ง่ายและสามารถช่วยในการเรียนการสอนได้มากขึ้น คอมพิวเตอร์จึงเป็นสิ่งที่ครูและนักเรียนคุ้นเคย และมีการใช้กันอย่างแพร่หลายจนทุกวันนี้
..........ยุคของมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาได้เริ่มขึ้นในปี 1987 เมื่อบริษัท APPLE ได้เผยแพร่โปรแกรมมัลติมีเดียครั้งแรกออกมา คือโปรแกรม HyperCard แม้ว่าโปรแกรมนี้จะต้องใช้เครื่องที่มีกำลังสูง ต้องใช้เวลาในการฝึกหัดมาก แต่ผลงที่ได้รับก็น่าประทับใจ การพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการศึกษาได้มีการดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนาโปรแกรม Hyper Studio มาใช้ และได้รับความนิยมมากขึ้นในหลายๆ โรงเรียน อย่างไรก็ตาม เพียงภายในสองปี มัลติมีเดียเพื่อการศึกษาก็ถูกแทนที่โดยสิ่งที่น่าตื่นเต้นมากกว่า นั่นก็คือ อินเทอร์เน็ต (Internet) นั่นเอง
.........ปัจจุบันนี้ อินเทอร์เน็ตมีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว The Department of Commerce's Census Bureau ของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการสำรวจในเดือนกันยายน พ.ศ. 2544 พบว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จำนวนคนอเมริกันที่ใช้อินเทอร์เน็ตมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึงเดือนละสองล้านคน ซึ่งทำให้ตัวเลขประชากรที่ออนไลน์มีจำนวนกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศสหรัฐอเมริกาผลการสำรวจรายงานว่า ปัจจุบันนี้ คนอเมริกันที่ใช้คอมพิวเตอร์มีจำนวนถึง 174 ล้านคน (หรือร้อยละ 66 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ) และมีชาวอเมริกันใช้อินเทอร์เน็ตทั้งสิ้นประมาณ 143 ล้านคน (ราว ๆ ร้อยละ 54 ของประชากร) ส่วนในประเทศไทยนั้นบริษัท ACNielsen ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยการตลาดระดับนานาชาติ ได้ทำการสำรวจผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในเขตเมืองใหญ่ในแต่ละภาคของประเทศไทยเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 และพบว่าครอบครัวในเมืองใหญ่ที่มีคอมพิวเตอร์เป็นของตนเองมีเพียงร้อยละ 24 เท่านั้น ส่วนจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งประเทศมีจำนวนประมาณ 10 ล้านคน (ราวๆ ร้อยละ 16.6 ของประชากร) ในจำนวนนี้ ส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้ในเขตกรุงเทพมหานคร นอกจากนั้นศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ก็ได้ทำการสำรวจผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยในช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม 2544 เช่นกัน พบว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตร้อยละ 52 อยู่ในกรุงเทพมหานคร เป็นเพศชายร้อยละ 48.8 และเพศหญิงร้อยละ 51.2 ในจำนวนผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้ทีมีอายุระหว่าง 20-29 ปี (ร้อยละ 49.1) และเป็นผู้มีการศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 60.3) อย่างไรก็ตาม การวิจัยทั้งสองให้ผลที่ตรงกันว่า คนไทยส่วนใหญ่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อส่ง e-mail ค้นหาข้อมูล ติดตามข่าวสาร และสนทนา (chat)
.........นอกจากนั้นยังมีการสรุปด้วยว่าการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยแพร่หลายมากขึ้น เพราะค่าใช้จ่ายถูกลง และมีอินเทอร์เน็ตคาเฟมากขึ้น การพัฒนาอันน่ามหัศจรรย์ใจของของอินเทอร์เน็ตในฐานะที่เป็นเครือข่ายแห่งเครือข่ายทำให้มีการเชื่อมโยงกันได้อย่างเสรีไม่มีการปิดกั้น ดังนั้นคนทุกคนจึงสามารถเผยแพร่ข้อมูลของตนบนอินเทอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย พอ ๆ กับการที่สามารถสืบค้นข้อมูลได้จากแหล่งความรู้ต่างๆ ทั่วโลก และจากคุณสมบัติดังกล่าวนี้ อันเทอร์เน็ตจึงมีประโยชน์อย่างยิ่งในการศึกษารูปแบบต่างๆ เพราะนักเรียนและครูสามารถสื่อสารถึงกันได้โดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น อีเมล์ การแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านระบบ bulletin board และ biscussion groups ต่างๆ ตลงอดจนการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยยิ่งขึ้นในการโทรศัพท์หรือประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตจึงเพิ่มบทบาทสำคัญในการศึกษารูปแบบใหม่และยังช่วยเปลี่ยนบทบาทของครูจาก "ผู้สอน" มาเป็น "ผู้แนะนำ" พร้อมทั้งช่วยสนับสนุนให้เด็กสามารถเรียนและค้นคว้าด้วยตนเองอีกด้วยพัฒนาการเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทยเทคโนโลยีการศึกษาของไทยมีการพัฒนาการมา 3 ยุค คือ
........1. ยุคแรกสมัยกรุงสุโขทัยจนถึงสมัยกรุงธนบุรี ยุคนี้เป็นยุคเริ่มต้นของการพัฒนาเทคโนโลยีทางการศึกษาของไทย ในสมัยสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรง ประดิษฐ์อักษรไทย เพราะตัวอักษรเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเผยแพร่วิทยาการต่างๆ ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น และทำให้คนไทยเกิดความรู้สึกหวงแหนชาติไทยนอกจากนี้พระองค์ยังทรงเอาใจใส่ต่อการศึกษาของประชาชนด้วย ดังเช่น การสั่งสอนประชาชน ณ พระแทนมนังคศิลา ทั้งด้วยพระองค์เองและทรงนิมนต์พระภิกษุมาสั่งสอน เล่าเรื่อง การเทศนา การเขียนเป็นหนังสือ ฯลฯ ยุคนี้มีเทคโนโลยีการศึกษาผ่านสื่อวรรณกรรมที่สำคัญ 2 เรื่อง คือ ภาษิตพระร่วง และไตรภูมิพระร่วง ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เทคโนโลยีการศึกษาได้ก้าวหน้าไปมาก ทั้งด้านวิชาการทั้งในประเทศและวิทยาการจากประเทศตะวันตก หนังสือเรียนเล่มแรกของไทยชื่อ จินดามณีก็เกิดขึ้นในยุคนี้ นอกจากนี้ก็มี วรรณกรรมต่างๆเกิดขึ้นมากมาย ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์ทรงดำเนินนโยบายต่างประทศระบบเปิด ต้อนรับชาวต่างประเทศ การค้าและการศาสนา ส่วนหนึ่งของชาวยุโรปเหล่านี้ ได้แก่ คณะมิชชั่นนารี ได้นำวิทยาการใหม่ ๆ หลายประการจากยุโรปมาเผยแพร่ในประเทศด้วย เช่น การพิมพ์ การจัดตั้งโรงเรียน แต่วิทยาการเหล่านี้ไม่ได้นำมาใช้อย่างจริงจัง ก็เลิกล้มไปเพราะพระมหากษัตริย์สมัยหลังสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ไม่ต้องการให้ชาวยุโรปเข้ามาดำเนินการกิจการต่างๆ ในประเทศไทย ในสมัยกรุงธนบุรี เทคโนโลยีการศึกษามีไม่มากนัก ทั้งนี้เพราะประเทศได้รับความเสียหายมาก จากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 พระเจ้ากรุงธนบุรีใช้เวลาส่วนใหญ่ในการรวบรวมคนไทย และบูรณะประเทศให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง อีกทั้งสมัยนี้มีระยะเวลาสั้นเพียง 15 ปีเทคโนโลยีการศึกษาในสมัยนี้จึงมีเพียงวรรณกรรมเท่านั้น
........2. เทคโนโลยีการศึกษายุคปรับเปลี่ยน ในยุคนี้นับตั้งแต่สมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกา ได้เข้ามามีอิทธิพลในประเทศไทยมากขึ้น แทนอังกฤษและฝรั่งเศษ สหรัฐอเมริกาได้นำเทคโนโลยีการศึกษาสมัยใหม่หลายอย่างมาเผยแพร่ในประเทศไทย เริ่มต้นด้วยภาพยนตร์ ที่สำนักข่าวสารอเมริกัน ได้นำมาฉาย หลายเรื่องมาสามารถนำมาใช้ในการศึกษาได้ ทำให้คนไทยเห็นคุณค่าของภาพยนตร์เพื่อนำมาใช้ในการศึกษา กองการศึกษาผู้ใหญ่ กระทรวงศึกษาธิการเริ่มนำภาพยนตร์มาใช้ในการให้การศึกษา ในยุคนี้เองได้มีการบัญญัติศัพท์ " โสตทัศนศึกษา" ขึ้นโดยมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Audio Visua
l.........โสตทัศนศึกษาในยุคนี้พัฒนาอย่างมีระบบแบบแผน อีกทั้งได้มีการเปิดสอนในระดับอุดมศึกษา ทั้งขั้นปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา ทำให้ก้าวหน้ากว่าทุกยุคที่ผ่านมาโดยเฉพาะสหรัฐมเมริกาเข้ามามีอิทธิพลอย่างมากในการจัดการศึกษาของไทย ทั้งนี้เพราะมีนักการศึกษาและผู้บริหารการศึกษาคนไทยได้มีโอกาสไปศึกษาในสหรัฐอเมริกา เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เทคโนโลยีการศึกษาในยุคนี้แบ่งออกได้เป็นรูปแบบต่างๆดังนี้
.....1) เทคโนโลยีการสอน ได้มีการคิดค้นวิธีการเรียนการสอนใหม่ ๆ ขึ้นมาหลายอย่าง ทั้งจากการประยุกต์จากวิทยาการของต่างประเทศและจากการสร้างขึ้นมาเอง เช่น ระบบการเรียนการสอนแบบศูนย์การเรียน ระบบการสอนแบบเบญจขันธ์ ระบบการสอนแบบจุลภาค ระบบการการสอนแบบสืบสวนสอบสวน ฯลฯ ซึ่งระบบการเรียนการสอนที่ได้รับการพัฒนาขึ้นนี้ ล้วนเอาแนวคิดจากตะวันตกมาทั้งสิ้น
.......2) เทคโนโลยีด้านสื่อ สื่อการศึกษาในยุคนี้ส่วนใหญ่พัฒนามาจากผลิตผลทางด้านวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ เช่น เครื่องฉายภาพยนต์ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายภาพโปร่งใส นอกจากนี้ยังได้มีการนำวิทยุและวิทยุโทรทัศน์มาใช้เพื่อการศึกษาด้วย แต่การนำรูปแบบสื่อจากประเทศตะวันตกมาใช้ทำให้เกิดปัญหาหลายประการ เพราะสภาพทางสังคมและเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน นักการศึกษาของไทยจึงได้พัฒนาสื่อการศึกษาขึ้นมาเองเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ โดย การใช้ทรัพยากรพื้นบ้าน ใช้สื่อราคาเยาว์เช่น ผลงานวัตกรรมพื้นบ้านเพื่อการสอนของธนู บุญรัตพันธุ์ วิธีการและวัสดุอุปกรณ์การสอนวิทยาศาสตร์ที่ผู้สอนคิด ประดิษฐ์ขึ้นเองเช่นวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของ โช สาลีฉันท์ ซึ่งมีผลิตผลที่ใช้วัสดุเหลือใช้ต่างๆ ในท้องถิ่น จึงเป็นแนวโน้มที่ดีในการเลือกและใช้สื่อในการศึกษา
........3) การจัดตั้งหน่วยงานเพื่อรับผิดชอบเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษา ได้มีการจัดตั้งสถาบันและหน่วยงานต่างๆขึ้นเช่น ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในสถาบันการศึกษาต่างๆก็มีการจัดตั้งศูนย์ที่ทำหน้าที่ด้านสื่อขึ้นมา เพื่อตอบสนองและส่งเสริมประสิทธิภาพในการศึกษาของผู้เรียนให้มากขึ้น........เทคโนโลยีการศึกษาในยุคสารสนเทศ เป็นยุคที่คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการสื่อสารเป็นอย่างยิ่งคือเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา อิทธิพลของคอมพิวเตอร์ที่มีต่อการสื่อสารและสังคมทำให้บทบาทของเทคโนโลยีการศึกษาต้องปรับเปลี่ยนตามไปด้วย เทคโนโลยีการศึกษาในยุคนี้จึงแบ่งได้เป็น
รูปแบบคือ
1) เทคโนโลยีด้านสื่อ
2)เทคโนโลยีการสื่อสาร
3)เทคโนโลยีด้านระบบ
4)เทคโนโลยีการสอน
5) นักเทคโนโลยีการศึกษาของไทยนักเทคโนโลยีทางการศึกษาของไทย ตั้งแต่ยุคแรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน ที่สำคัญได้แก่
1 .พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ผู้ประดิษฐ์อักษรไทย
2 .พระมหาธรรมราชาลิไทย ผู้นิพนธ์ "ไตรภูมิพระร่วง"
3 .พระโหราธิบดี ผู้แต่ง "จินดามณี" ซึ่งเป็นแบบเรียนเล่มแรกของไทย
4 .พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว "บิดาสาขาวิทยาศาสตร์ และให้แนวคิดมหาวิทยาลัยเปิด
ของไทย
5 .พุทธทาสภิกขุ ในฐานะที่ได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการเผยแพร่ธรรม
6 .ศาสตราจารย์สำเภา วรางกูล ในฐานะผู้ริเริ่มและบุกเบิก นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาสมัยใหม่ในไทย
7 .รองศาสตราจารย์ ดร.เปรื่อง กุมุท ผู้คิดวิธีสอนแบบเบญจขันธ์
8 .ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ นักเทคโนโลยีการศึกษา ที่เน้นแนวคิดทางพฤติกรรมศาสตร์ ผลงานที่สำคัญได้แก่ ระบบการเรียนการสอน แบบศูนย์ การเรียน ระบบแผนจุฬา แบบ มสธ.. ฯลฯ
9 .อาจารย์ธนู บุณยรัตพันธ์ นักเทคโนโลยีการศึกษาที่มีผลงานทั้งด้านวัสดุอุปกรณ์ การสอนโดยเฉพาะในด้านวัสดุอุปกรณ์ในท้องถิ่น
10 .ศาสตราจารย์ ดร. วีรยุทธ วิเชียรโชติ นักจิตวิทยาและเทคโนโลยีการศึกษาที่ได้ประยุกต์หลักธรรมทางพุทธศาสนามาใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน ผลงานที่สำคัญ ได้แก่ ระบบการเรียนการสอน แบบสืบสวนสอบสวน
11 .รองศาสตราจารย์ โช สาลีฉัน นักเทคโนโลยีทางการศึกษาที่มีผลงานเด่นในด้านการผลิตวัสดุอุปกรณ์การสอนวิทยาศาสตร์ จากทรัพยากรพื้นบ้าน
12 .ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสะอ้าน ผู้ริเริ่มตั้งมหาวิทยาลัยเปิดโดยการสอนทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช........มุมมองเทคโนโลยีที่สมัยเก่ามองเป็นภาพของโสตทัศนศึกษาเปลี่ยนไป ปรับเป็น เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร แนวคิดของเทคโนโลยีการศึกษายังอยู่แต่เน้นการนำเอาเทคโนโลยีสื่อสารและการสนเทศ (Information and Communication Technology) มาใช้เพื่อความทันสมัยและทันกับความก้าวหน้าของการสื่อสารสภาพปัจจุบันของเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทย สิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา..........ปัจจุบันสิ่งพิมพ์ในเมืองไทยมีการใช้อย่างกว้างขวาง ทั้งประโยชน์ทางด้านการศึกษา เศรษฐกิจ การเมือง และสังคม สิ่งพิมพ์จึงมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของประชาชนคนไทยอยู่มาก ปัจจุบันนี้มีทั้งหน่วยงานรัฐบาลลัสำนักพิมพ์เอกชนที่ต่างแข่งขันผลิตสิ่งพิมพ์ออกมาหลายประเภทด้วยกันสิ่งพิมพ์ทั่วไป (Printed Material) หมายถึงสางที่ใช้ระบบพิมพ์ถ่ายทอดข้อความและภาพที่แสดงความรู้วิทยาการก้าวหน้า ข้อมูลข่าวสาร ความคิด ความเชื่อ ประสบการณ์ และจินตนาการของมนุษย์ เผยแพร่ออกไปสู่ผู้อ่านอย่างกว้างขวางและทั่วถึง ในรูปลักษณ์ต่างๆ เช่น หนังสือเล่ม หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร จุลสาร แผ่นพับ แผ่นปลิว สลาก เป็นต้น
...........สิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา (Educational/Instructional Material) หมายถึงสิ่งพิมพ์ในรูปลักษณ์ต่างที่จัดทำขึ้นเป็นเครื่องมือในการเรียนการสอน ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ เจตคติ ค่านิยม ความรู้ สึก ประสบการณ์การเรียนรู้ สำหรับการนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนและผู้สอน เช่น หนังสือ ตำราเรียน แบบเรียนแบบฝึกหัด ใบงาน คู่มือการสอน และสื่อเสริมการเรียนรู้ ซึ่งได้แก่ หนังสือเสริมความรู้ สารานุกรม พจนานุกรม หนังสืออุเทศ หนังสือพิมพ์ หนังสือบันเทิงคดี และสารคดีที่มีเนื้อหาเป็นประโยชน์ เป็นต้นเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
........ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา" หมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทคซึ่งประกอบด้วยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายโทรคมนาคมที่ต่อเชื่อมกัน สำหรับส่งและรับข้อมูลและมัลติมีเดียเกี่ยวกับความรู้โดยผ่านกระบวนการประมวลหรือจัดทกให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายและความสะดวก มาใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้คนไทยสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา ได้มีวิฒนาการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเกิดขึ้นในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งนั้นมาจากกระแสโลกาภิวัฒน์และความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อีกส่วนเกิดจากแรงผลักดันภายในประเทศเอง ประเทศไทยได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2535 ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ต่อมาเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2539 คณะรัฐมนตรีได้มติให้ประกาศใช้ " หรือ IT 2000 โดยมีเสาหลักในการพัฒนา 3 ประการคือ
.......1) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ( National Information Infrastructure หรือ NII)
.......2) พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ( Human Resource Development) และ
.......3) พัฒนาระบบสารสนเทศและปรับปรุงบทบาทภาครัฐเพื่อการบริการที่ดีขึ้น รวมทั้งสร้างรากฐาน อุตสาหกรรมสารสนเทศที่แข็งแกร่ง (IT for Good Governance) สำหรับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้น ได้มีการกไหนดกลยุทธ์ไว้ 2 ประการ คือ
.......1. เร่งสร้างบุคลากรที่มีทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทุกระดับเพื่อแก้ปัญหาความขาดแขลง แลเพื่อเตรียมรับความต้องการของตลาด
.......2. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพื่อการศึกษาและการฝึกอบรมทุกระดับทั้งในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และมนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์นโยบายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษาของประเทศไทย
.......1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารของประชาชนเสรีภาพในการสื่อสาร ( มาตรา 37 ) เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น สื่อความหมาย และเสนอข่าว ( มาตรา 36 และ 41 ) สิทธิ์ในการได้รับข้อมูลข่าว ความคิดเห็น สื่อความหมาย และเสนอข่าว ( มาตรา 39 และ 41 ) สิทธิ์ในการได้รับข้อมูลข่าวสาร ( มาตรา 58 และ 59 ) การกระจายอำนาจในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นสารสนเทศ(มาตรา 78 ) และเสรีภาพในการใช้สื่อสารมวลชน ( มาตรา 37) และ เสรีภาพในการใช้สื่อสารมวลชน ( มาตรา37,39,41,58,และ 59) ที่สำคัญคือ บทบัญญัติในมาตรา 40 ซึ่งระบุไว้ว่า คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และ วิทยุโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ตามวรรณหนี่งและกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจกรรมโทรคมนาคมทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
........การดำเนินการตามวรรคสองต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่ง ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรมความมั่นคงของรัฐ และ ประโยชน์สาธารณะ รวมทั้งการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม"
.........การจัดทำแผนแม่บทกิจกรรมกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และการอนุญาตให้ประกอบกิจกรรมดังกล่าว ต้องคำนึงถึงสัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างผู้ประกอบการภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยจะต้องจัดให้ภาครประชาชนได้ใช้คลื่นความถี่ไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบ ในกรณีที่ภาคประชาชนยังไม่มีความพร้อมในกรณีที่ภาคประชาชนยังไม่มีความพร้อมให้ กสช ให้การสนับสนุนการใช้คลื่นความถี่ในสัดส่วนตามที่กำหนด เพื่อประโยชน์ในการจัดสรรคลื่นความถี่ให้ภาคประชาชนได้ใช้ และการสนับสนุนการใช้คลื่นความถี่ให้ ประชาชนใช้และการสนับสนุนการใช้เคลื่นความถี่ของประชาชน ให้ กสช. กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับลักษณะของภาคประชาชนที่พึงได้รับการจัดสรรและสนับสนุนให้ใช้คลื่นความถี่ รวมทั้งลักษณะการใช้คลื่นความถี่ที่ได้รับจัดสรร โดยอย่างน้อยประชาชนนั้นต้องดำเนินิการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สาธารณะและไม่แสวงหากำไรในทางธุรกิจ
........มาตรา 27 การกำหนดเกณฑ์และการพิจารณาออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และใบ อนุญาตให้ประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ให้คำนึงถึงประโยชน์สาธารณะตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 25 เป็นสำคัญ
........2.พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 9 ว่าด้วยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
........1) มาตรา 63 รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุการจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และ การสื่อสารในรูปอื่น เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทะนุบำรุงศาสนา ศิลป และวัฒนธรรมตามความจำเป็น
........2) มาตรา 64 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิต และพัฒนาแบบเรียนตำราหนังสือทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ วัสดุอุปกรณ์ และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น โดยเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตจัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แจงจูงใจแก่ผู้ผลิต จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิต และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ทั้งนี้ โดยเปิดให้มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม
........3) มาตรา 65 ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ
.......4) มาตรา 66 ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้ เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
.......5) มาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อ ให้เกิดการใช้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย
........6) มาตรา 68 ให้มีการระดมทุน เพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จากเงินอุดหนุนของรัฐ ค่าสัมปทานและผลกำไรได้จากการดำเนินกิจการด้านสื่อมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคมจากทุกฝ่ายเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรประชาชน รวมทั้งให้มีการลดอัตราค่าบริการเป็นพิเศษในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อการพัฒนาคนและสังคมหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรวเงินกองทุนเพื่อผลิต การวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
........7) มาตรา 69 รัฐต้องจัดให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบายแผน ส่งเสริม และประสานการวิจัย การพัฒนาและการใช้ รวมทั้งการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่มา http://www.nmc.ac.th/database/file_science/unit1.docเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้สำหรับครู
.........ความรู้ความสามารถของครูเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี ในการใช้คอมพิวเตอร์ของครู มีครูที่มีความสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในระดับพื้นฐาน คิดเป็นร้อยละ 31.26 ใช้ Internet ในระดับพื้นฐานคิดเป็นร้อยละ 35.09 และการบูรณาการเทคโนโลยีกับวิชาหรือกลุ่มสาระการเรียนรู้ในระดับพื้นฐานคิดเป็นร้อยละ 31.57 ใช้เทคโนโลยีประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในระดับพื้นฐาน คิดเป็นร้อยละ 37.27 แสดงให้เห็นว่าครูยังมีความรู้ ความสารถด้านเทคโนโลยีเพียง ในระดับพื้นฐาน ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีไม่เป็น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าครูส่วนใหญ่มีอายุค่อนข้างมากแล้วและไม่มีความรู้พื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีมาก่อนจึงทำให้เกิดการพัฒนาตนเองค่อนข้างช้ามาก โดยเฉพาะในเรื่องของการตั้งกลุ่มเพื่อการช่วยเหลือซึ่งกันและกันเกือบจะไม่ได้ทำเลย และครูส่วนมากก็ไม่นำเทคโนโลยีไปบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ รวมทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ส่วนใหญ่ก็ไม่นำเทคโนโลยีมาใช้ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าครูไม่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีตลอดจนไม่สามารถติดตั้งและบำรุงรักษาเครื่องได้ครูใช้เทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จาก 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้.........ครูจะนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในวิชาคอมพิวเตอร์คิดเป็นร้อยละ 26.12 ส่วนวิชาที่รองลงมาที่ครูนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้แก่วิชาภาษาไทย คิดเป็นร้อยละ 14.61 แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีโอกาสในการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ได้ในวิชาคอมพิวเตอร์มากกว่าวิชาอื่น ๆ ส่วนในรายวิชาอื่น ๆ ก็พอได้เรียนรู้บ้างแต่ไม่มากนัก ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าครูที่สอนวิชาคอมพิวเตอร์นั้นคงเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในระดับดีพร้อมที่จะดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้
........สภาพการใช้คอมพิวเตอร์ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดให้ของครูรายการที่ครู ใช้มากได้แก่ ใช้พัฒนาทักษะวิชาชีพครู เตรียมการสอนและสร้างสื่อการสอน ค้นสารสนเทศ ทางการศึกษา และค้นคว้าเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รายการที่ครูไม่ได้ใช้เลย ได้แก่ สอนทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ใช้สำหรับการนำเสนองาน ใช้สื่อสารระหว่างนักเรียน ครูและผู้เกี่ยวข้องและใช้ตรวจสอบผลงาน/ทำรายงานของนักเรียน
.........แสดงให้เห็นว่าสภาพการใช้คอมพิวเตอร์ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดให้ครูจะใช้คอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาทักษะวิชาชีพครู มากกว่าการเตรียมการสอนและสร้างสื่อการสอน แสดงให้เห็นว่าครูใช้คอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาตนเอง เช่นจัดทำผลงานเพื่อเลื่อนระดับให้กับตนเองมากกว่าที่จะค้นคว้าหาความรู้เพื่อเตรียมการสอนรวมทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียน
........การใช้ ICT ในการเรียนและบูรณาการความนำคอมพิวเตอร์ ถือเป็นสื่อนวัตกรรมใหม่อย่างหนึ่ง เพิ่งแพร่หลายขึ้นมาประมาณ 40 ปี มานี้เอง คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดเก็บ คำนวณ ประมวลผล แสดงผล หรืองานอื่นใด ตามคำสั่ง ที่จัดทำขึ้น แล้วบันทึกเก็บไว้ในหน่วยความจำของอุปกรณ์นั้น ปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์อย่างรวดเร็วมาก จนเป็นสื่อสำคัญยิ่งในการนำเข้าสู่ยุคข้อมูลข่าวสาร ทุก ๆ วินาที สามารถรับรู้ความเป็นไปในทุกพื้นพิภพได้เกือบพร้อมกัน ทั้งที่อยู่กันคนละซีกโลก การรับรู้ข่าวสารที่รวดเร็วนำประโยชน์สู่ผู้ใช้ นำประโยชน์สู่ประเทศชาติได้อย่างมหาศาล เช่น สามารถติดต่อค้าขายกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยที่ผู้ซื้อและผู้ขายไม่ต้องพบหน้ากัน ไม่มีข้อจำกัดของเวลา ไม่มีข้อจำกัดด้านพรมแดน สามารถใช้ระบบ E - Commerce และใช้ในเรื่องการศึกษา การแสวงหาความรู้ การสื่อสาร รวมถึงกิจการอื่น ๆ มากมาย หากผู้ใช้สามารถใช้ประโยชน์เป็นอย่างคุ้มค่า
..........หลายปีที่ผ่านมาโรงเรียนที่มีความพร้อมเริ่มนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในโรงเรียนกันมากขึ้น โดยโรงเรียนดังกล่าวมักจะอยู่ในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ที่มีเศรษฐกิจดี ผู้ปกครองมีฐานะทางเศรษฐกิจมั่นคง ช่วงแรกเริ่มใช้เพื่อการบริหารจัดการก่อน เรียกว่า Computer Assisted Management โปรแกรมนี้ช่วยจัดการด้านงานธุรการ เงินเดือน ห้องสมุด งานปกครอง และอื่น ๆ ระยะต่อมาคอมพิวเตอร์มีราคาถูกลง โรงเรียนต่าง ๆ เริ่มนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งเรียกว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า " CAI " หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อเสนอเนื้อหา กระตุ้นเร้าให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ ต้องการเรียนรู้ บทบาทของ CAI มีมากขึ้น ผลที่ได้ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่ตนเองต้องการ ตรงตามความประสงค์ เป็นการตอบสนองความเป็น Child Center ได้ประการหนึ่ง
.........ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายให้โรงเรียนต่าง ๆ ใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง สภาพการณ์ดังกล่าวทำให้ผู้ปกครองเกิดความตื่นตัว ต้องการที่จะให้บุตรหลานได้เรียนรู้จากคอมพิวเตอร์มากขึ้น จนกลายเป็นกระแสของความทันสมัย โรงเรียนใดไม่สอนวิชาคอมพิวเตอร์ ผู้ปกครองจะย้ายเด็กไปเรียนโรงเรียนอื่นที่สอนคอมพิวเตอร์ เป้าหมายสำคัญที่นอกเหนือไปจากภาระงานปกติของโรงเรียน คือการจัดการศึกษาให้ตอบสนองความต้องการของชุมชน ผู้บริหาร คณะครู กรรมการสถานศึกษาการพัฒนาบุคลากรโรงเรียนประถมศึกษา โดยทั่วไปครูจะมีคุณวุฒิตรงสาขาวิชาเอกน้อยและยังไม่สามารถเลือกครูได้ตรงตามความต้องการของโรงเรียน จึงส่งผลถึงการจัดการเรียนการสอน หน้าที่ของโรงเรียนต้องดำเนินการ คือ พัฒนาให้ครูมีศักยภาพ สามารถทำงานสนองความต้องการของผู้เรียน และสนองตอบพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้การพัฒนาครู เป็นสิ่งจำเป็นโดยอาจดำเนินการพัฒนาครูได้ ดังนี้
.......1. พัฒนาให้ครูทุกคนมีความรู้พื้นฐานในการใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นฐานในการเรียนรู้ และใช้คอมพิวเตอร์จัดการเรียนการสอนได้
.......2. กำหนดมาตรฐานเบื้องต้นของครูที่จะเข้าทำหน้าที่ครูคอมพิวเตอร์ ไว้ดังนี้
2.1 ต้องมีวิสัยทัศน์ มีความคิดกว้างไกล ทันเหตุการณ์ของโลก
2.2 พัฒนาตนเองอยู่เสมอ ให้รอบรู้และรู้รอบ ในเรื่องใหม่ ๆ อยู่เป็นนิจ
2.3 ขยัน ทันสมัย ใจรัก สละเวลาคนที่มีใจรักในสิ่งใด มักจะทุ่มเท เสียสละ ขยัน มุ่งมั่นทำในสิ่งที่ตนรัก งานคอมพิวเตอร์ เป็นงานที่หนัก และมีความสำคัญสูง ด้วยครูมีภาระหลากหลาย ด้วยเหตุที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ส่วนอื่น ๆ เป็นฝ่ายบริการอำนวยความสะดวกได้ หลังจากที่โรงเรียนให้ความรู้ ฝึก และพัฒนาครูให้มีความรู้พื้นฐานทางคอมพิวเตอร์แล้ว รูปแบบการใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และการแข่งขันการพัฒนาทางด้านซอฟต์แวร์ ในปัจจุบัน ส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในด้านการศึกษากันมาก การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(Computer Assisted Instruction) มีบทบาทและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นการพัฒนาผู้เรียนอีกทางหนึ่ง โดยอาศัยประสบการณ์ ความรู้ ปรับประยุกต์ใช้ภายใต้บริบทของโรงเรียน
1. จัดการเรียนรู้ "ตลอดเวลา" (Anytime) เวลาใดก็สามารถเรียนรู้ได้ ระยะแรกเริ่มให้นักเรียนสามารถใช้ Computer สืบค้นหาความรู้จากห้องสมุด ซึ่งมีเครื่องคอมพิวเตอร์ให้บริการระบบ Internet
.......2. เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ "ทุกหนแห่ง" (Anywhere) นักเรียนสามารถเรียนรู้ร่วมกันจากสื่อต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ วีดิทัศน์ โทรทัศน์ CAI และอื่นๆ
.......3. การให้ทุกคน (Anyone) ได้เรียนรู้พัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพของตน ตั้งแต่ระดับอนุบาลเป็นต้นไปการใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้การเรียนรู้ในปัจจุบันแตกต่างจากเดิมไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งหมายความว่า ผู้เรียนมีโอกาส มีอิสระในการเรียนรู้ด้วยตนเอง สร้างองค์ความรู้ สร้างทักษะด้วยตนเอง ครูเปลี่ยนบทบาทจากผู้สอนมาเป็น ผู้ให้คำแนะนำ นอกจากนี้ทั้งครูและศิษย์สามารถเรียนรู้ไปพร้อมกันได้ การจัดการเรียนที่โรงเรียนดำเนินการได้ในขณะนี้
........1. การสอนโดยใช้สื่อ CAI ช่วยสอนให้เกิดการเรียนรู้ตามความสนใจ เช่น วิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาไทย วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคม หรือ สปช. วิชาภาษาอังกฤษ
........2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักสืบค้นวิทยาการใหม่ ๆ จากอินเทอร์เน็ต
........3. จาก E-book จาก E-Library
........4. ส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างเจตคติที่ดีในการเรียนและการค้นคว้าหาความรู้ โดยกำหนดให้ผู้เรียนได้เล่นเกมการศึกษา (Education Games ) ที่ผ่านการวิเคราะห์ของครูผู้รับผิดชอบว่าไม่เป็นพิษภัยต่อผู้เล่น และเป็นการสร้างเสริมความคิดสร้างสรรค์ที่ดีให้กับเด็ก.........
........5. ใช้แผนการสอนแบบ ICT บูรณาการเรียนรู้ในสาระวิชาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และ คอมพิวเตอร์
........6. จัดระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการเรียนรู้
........7. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดระบบและเผยแพร่ความรู้
........8. จัดระบบข้อมูลสารสนเทศแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน และภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่น
.......9. พัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ในการจัดการเรียนรู้ของผู้สอนที่มาhttp://www.eschool.su.ac.th/school31/web1.htm
บทสรุป.........การนำเอาเทคโนโลยี เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน เป็นการเพิ่มพูน ประสิทธิภาพทางการเรียนรู้แก่ผู้เรียน และในสภาพปัจจุบันการเรียนการสอนก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงสิ่งนี้ได้
ครูจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนของตนเอง ต้องยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้น จึงต้องเรียนรู้เทคโนโลยีต่าง ๆ แล้ววิเคราะห์ความเป็นไปได้ ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ให้เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน ที่มีความพร้อมในระดับหนึ่ง ครูควรต้องพัฒนาตนเองเพื่อพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม และยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อนำพาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ ดำรงตนอยู่ได้อย่างมีความสุขที่มา
เทคโนโลยีการศึกษา........คำว่า "เทคโนโลยี”(Technology) มาจากรากศัพท์ "Technic" หรือ "Techno" ซึ่งมีความหมายว่า วิธีการ หรือการจัดแจงอย่างเป็นระบบ รวมกับ "logy" ซึ่งแปลว่า “ศาสตร์” หรือ “วิทยาการ” ดังนั้น คำว่า "เทคโนโลยี" ตามรากศัพท์จึงหมายถึง ศาสตร์ว่าด้วยวิธีการหรือศาสตร์ที่ว่าด้วยการจัดการ หรือการจัดแจงสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดระบบใหม่และเป็นระบบที่สามารถนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์ที่ตั้งใจไว้ได้ ซึ่งก็มีความหมายตรงกับความหมายที่ปรากฏในพจนานุกรม คือ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ดังนั้น เทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นการจัดแจงหรือการประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์กายภาพมาใช้ในกระบวนการของการศึกษา ซึ่งเป็นพฤติกรรมศาสตร์ โครงสร้างมโนมติของเทคโนโลยีการศึกษาจึงต้องประกอบด้วย มโนมติทางวิทยาศาสตร์กายภาพ มโนมติทางพฤติกรรมศาสตร์ โดยการประสมประสานของมโนมติอื่นที่เกี่ยวข้อง
ตัวอย่างเช่น การประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์กายภาพทางวิศวกรรมและทางเคมีได้เครื่องพิมพ์และหมึกพิมพ์ สามารถผลิตหนังสือตำราต่างๆ ได้ และจากการประยุกต์หลักพฤติกรรมศาสตร์ทางจิตวิทยา จิตวิทยาการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้และหลักความแตกต่างระหว่างบุคคล ทำให้ได้เนื้อหาในลักษณะเป็นโปรแกรมขั้น ย่อย ๆ จากง่ายไปหายาก เมื่อรวมกันระหว่างวิทยาศาสตร์กายภาพและพฤติกรรมศาสตร์ในตัวอย่างนี้ ทำให้เกิดผลิตผลทางเทคโนโลยีการศึกษาขึ้น คือ "ตำราเรียนแบบโปรแกรม".........อีกตัวอย่างหนึ่งการประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพเกี่ยวกับแสง เสียงและอิเล็กทรอนิกส์บนพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ใช้ระบบเลขฐานสองทำให้ได้เครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อประสมประสานกับผลการประยุกต์ทาง พฤติกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้ หลักความแตกต่างระหว่างบุคคล
หลักการวิเคราะห์งาน และทฤษฎีสื่อการเรียนการสอนแล้วทำให้ได้ผลผลิตทางเทคโนโลยีการศึกษา
คือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction: CAI)
.......จากข้อพิจารณาดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษามีสองลักษณะที่เน้นหนักแตกต่างกันคือ
......1. เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การประยุกต์หลักการวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์ให้เป็นวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการเสนอ แสดง และถ่ายทอดเนื้อหาทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความหมายนี้พัฒนามาจากความคิดของกลุ่มนักโสต-ทัศนศึกษา
......2. เทคโนโลยีการศึกษามีความหมายโดยตรงตามความหมายของเทคโนโลยี คือ ศาสตร์แห่งวิธีการ หรือการประยุกต์วิทยาศาสตร์มาใช้ในการศึกษา โดยคำว่า”วิทยาศาสตร์”ในที่นี้มุ่งเน้นที่วิชาพฤติกรรมศาสตร์ เพราะถือว่าพฤติกรรมศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งเช่นเดียวกับวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา
เป็นต้น
........เทคโนโลยีการศึกษามีความสำคัญและมีความจำเป็นที่เด่นชัดในปัจจุบันนี้ คือ การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ มาใช้ในกระบวนการศึกษาด้วยเหตุผลสำคัญดังต่อไปนี้
.......1. ความเจริญอย่างรวดเร็วทางด้านวิชาการต่างๆ ของโลก โดยเฉพาะระยะหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา วิทยาการใหม่ ๆ และสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ได้ถูกค้นคิดประดิษฐ์ขึ้นมาใช้ในสังคมมากมายเป็นทวีคูณ ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวทางด้านหลักสูตรการเรียนการสอนของสถานศึกษา และส่งผลเป็นลูกโซ่ต่อไปถึงปัญหาการเรียนการสอน การเลือกโปรแกรมและการทำความเข้าใจกับเนื้อหาสาระใหม่ๆ ของนักเรียน ความรุนแรงและความสลับซับซ้อนของปัญหาเหล่านี้มีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปริมาณเนื้อหาวิชาการใหม่ ๆ มีมากมายเกินความสามารถของผู้เกี่ยวข้อง จะเลือกบันทึกจดจำและนำเสนอในลักษณะเดิมได้ จึงมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับสถานการณ์เข้ามาช่วย เช่น การเสนอข้อมูลทางวิชาการโดยเทปบันทึกเสียง เทปบันทึกภาพ ไมโครฟอร์ม และแผ่นเลเซอร์ การแนะแนวการเรียนโดยระบบคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
.......2. การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคม ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากพัฒนาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดังกล่าวมาแล้ว มีผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต การปรับตัว และพัฒนาการของนักเรียน การแนะแนวส่วนตัวและสังคมแก่นักเรียน จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับสถานการณ์นั้น ๆ จึงจะสามารถให้บริการครอบคลุมถึงปัญหาต่าง ๆ ได้
........3. ลักษณะสังคมสารสนเทศหรือสังคมข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเป็นผลมาจากพัฒนาการทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีโทรคมนาคม ทำให้ข่าวสารทุกรูปแบบ คือ เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว กราฟฟิก และข้อมูลคอมพิวเตอร์สามารถถ่ายทอดและส่งถึงกันได้อย่างรวดเร็วทุกมุมโลก สังคมในปัจจุบันและอนาคตจะเป็นสังคมที่ท่วมท้นด้วยกระแสข้อมูลและข่าวสารข้อมูลและข่าวสารจำนวนมหาศาลจะอยู่ที่ความต้องการของผู้ใช้อย่างง่ายดายมาก ความจำเป็นที่สถานศึกษาจะต้องเป็นแหล่งให้ข้อมูลข่าวสารจะหมดความสำคัญลง การแนะแนวในสถานศึกษาจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากการ
ทำตัวเป็นแหล่งให้ข้อมูลมาเป็นการแนะแหล่งข้อมูล แนะนำการเลือกและการใช้ข้อมูลในการแก้ปัญหาและการคิดสร้างสรรค์ ซึ่งบทบาทอย่างนี้จะทำให้สำเร็จได้ยากหากไม่สามารถใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเชื่อมต่อกับระบบสารสนเทศในปัจจุบันมีผู้ให้คำนิยามของคำว่า
เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology) ไว้ดังนี้วิจิตร ศรีสอ้าน (วิจิตร ,2517)ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีการศึกษาเป็นการประยุกต์เอาเทคนิควิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ๆ มาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษาทั้งในด้านการขยายงานและด้านการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ,2546)ยังได้สรุปเพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนว่า "เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา" มีความหมายครอบคลุมการผลิต การใช้ และการพัฒนาสื่อสารมวลชน(อันได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์) เทคโนโลยีสารสนเทศ(คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต มัลติมีเดีย) และโทรคมนาคม (โทรศัพท์ เครือข่ายโทรคมนาคมและการสื่อสารอื่นๆ) เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ได้ตามความต้องการของผู้เรียนในทุกเวลาและทุกสถานที่ทบวงมหาวิทยาลัย (ทบวงมหาวิทยาลัย,2546) นิยามว่า "เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา" เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการศึกษา โดยการนำสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคม และการจัดแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มาใช้เพื่อจัดให้การศึกษาที่สามารถผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าได้ตามความต้องการ เพื่อให้การเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตทั้งด้านการศึกษาสาระความรู้ทางวิชาการ ทางศาสนา และศิลปะ วัฒนธรรม สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาตามความหมายของทบวงมหาวิทยาลัยนั้น ครอบคลุมสื่อวิทยุกระจายเสียง สื่อวิทยุโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตโทรสาร โทรศัพท์ และโทรคมนาคมอื่นรวมทั้งแหล่งการเรียนรู้ทั่วไป โดยมุ่งเน้นที่จะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้เต็มตามศักยภาพ ปราศจากข้อจำกัดด้านโอกาส ถิ่นที่อยู่ ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม"เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา" ตามความหมายของร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติ หมายถึง การนำสื่อตัวนำ คลื่นความถี่ และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการแพร่เสียง ภาพ และการสื่อสารในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ทั้งการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยครอบคลุมสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคม สื่อโสตทัศน์ แบบเรียน ตำรา หนังสือทางวิชาการและแหล่งการเรียนรู้หรือเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่นตามที่คณะกรรมการสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติกำหนดCarter V. Good(good,1973) กล่าวว่า เทคโนโลยีการศึกษาหมายถึง การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอน โดนเน้นที่วัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดหลักผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนมากกว่ายึดเนื้อหาวิชามีการใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติโดยผ่านการวิเคราะห์และการใช้โสตทัศนูปกรณ์รวมถึงเทคนิคการสอนโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ สื่อการสอนต่างๆ ในลักษณะของสื่อประสมและการศึกษาด้วยตนเองGagne' และ Briggs (gagne',1974)ให้ความหมายว่า
เทคโนโลยีการศึกษานั้น พัฒนามาจากการออกแบบการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ โดยรวมถึง
.......1.ความสนใจในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลในเรื่องของการเรียนรู้ เช่น บทเรียน แบบโปรแกรม และ บทเรียนการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย เป็นต้น
.......2.ด้านพฤติกรรมศาสตร์และทฤษฏีการเรียนรู้ เช่น ทฤษฏีการเสริมแรงของ B.F. Skinner
.......3.เทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ เช่น โสตทัศนูปกรณ์ประเภทต่างๆ รวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์ด้วยHeinich,MolendaและRussel(Heinich,1989) เสนอว่า เทคโนโลยีการศึกษาคือการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ให้ปฏิบัติได้ในรูปแบบของการเรียนและการสอนอีกนัยหนึ่งก็คือ การใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (ทั้งด้านยุทธวิธี Tactic และด้านเทคนิค) เพื่อแก้ปัญหาทางการสอนซึ่งก็คือความพยายามสร้างการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการออกแบบ ดำเนินการและประเมินผลการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ บนพื้นฐานของการศึกษาวิจัยในการเรียนและการสื่อสารกิดานันท์ มลิทอง(2545) ปัจจุบันนี้สมาคมเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและการสื่อสารได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เป็นทฤษฏีและการปฏิบัติของการออกแบบ การพัฒนาการใช้ การจัดการ และการประเมิน ของกระบวนการและทรัพยากรสำหรับการเรียนรู้แนวคิดของเทคโนโลยีการศึกษาจึงประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 กลุ่ม คือ การออกแบบ(design) การพัฒนา (Development) การใช้(utilization)การจัดการ (management)และการประเมิน(evaluation)ซึ่งแต่ละกลุ่มจะโยงเข้าสู่ศูนย์กลางของทฤษฏีและปฏิบัติดังนั้นเทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นผสมผสานกันระหว่างความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์เป็นการประยุกต์เอาแนวคิดความคิด เทคนิค วิธีการ วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งต่างๆ อันสืบเนื่องมาจากเทคโนโลยีมาใช้ในวงการศึกษานั้นเองเห็นได้ชัดเจนว่า "เทคโนโลยีการศึกษา" ครอบคลุมความหมายกว้างขวาง ซึ่งในภาษาสากลนั้น คำว่า Educational Technology มีความหมายรวมถึงเทคโนโลยีการสอน(Instructional Technology) เทคโนโลยีการเรียนรู้ (Learning Technology) สื่อการศึกษา (Educational Media) และคำอื่นๆ ที่มีความหมายอย่างเดียวกันเข้าไว้ด้วย แต่คำว่า Educational Technology) และ Instructional Technology ดูจะได้รับการยอมรับมากที่สุด โดยมักจะถูกใช้ในความหมายอย่างเดียวประวัติและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษาประวัติของเทคโนโลยีการศึกษา
.........เทคโนโลยีได้ถูกนำมาใช้ทางการศึกษานับตั้งแต่สมัยก่อนคริสตกาล มีการกล่าวถึงนักเทคโนโลยีทางการศึกษาพวกแรก คือกลุ่มโซฟิสต์ (The Elder sophist) ที่ใช้วิธีการสอนการเขียน เช่น การใช้มือวาด การเขียนสลักลงบนไม้ ส่วนการใช้ชอล์คเขียนบนกระดานดำได้เริ่มขึ้นในทศวรรษที่ 1800 สำหรับการใช้เทคโนโลยีทางสื่อโสตทัศน์(audio visual) นั้น สามารถนับย้อนหลังไปได้ถึงต้นทศวรรษที่ 1900 ในขณะที่โรงเรียนและพิพิธภัณฑ์หลายๆ แห่งเริ่มมีการจัดสภาพห้องเรียนและการใช้สื่อการสอนประเภทต่างๆ เช่น ใช้สื่อการสอนประเภทต่างๆ เช่น ใช้สื่อภาพ ภาพวาด ภาพระบายสี สไลด์ ฟิล์ม วัตถุ และแบบจำลองต่างๆ และแบบจำลองต่างๆ เพื่อเสริมการบอกเล่าทางคำพูดต่อ Thomas A. Edison ได้ผลิตเครื่องฉายภาพยนตร์ขึ้นในปี ค.ศ. 1913 เขาได้เล็งเห็นประโยชน์ของภาพยนตร์ในการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก จนถึงขั้นเขียนไว้เป็นหลักฐานว่า "ต่อไปนี้ หนังสือจะกลายเป็นสิ่งที่หมดสมัยในโรงเรียน เพราะเราสามารถใช้ภาพยนตร์ในการสอนความรู้ทุกสาขาได้ ระบบโรงเรียนจะต้องเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิงภายในสิบปีข้างหน้า" แต่ปัจจุบันแม้มีเทคโนโลยีสมัยใหม่ก็ยังไม่สามารถล้มล้างเทคโนโลยีดั้งเดิมเช่น การใช้หนังสือในการเรียนการสอนได้
.........ในช่วงทศวรรษที่ 1920 - 1930 เริ่มมีการใช้เครื่องฉายภาพแบบข้ามศีรษะ (overhead projector) เครื่องบันทึกเสียง วิทยุกระจายเสียง และภาพยนตร์ เข้ามาเสริมการเรียนการสอนวิทยุกระจายเสียงจึงเป็นสื่อใหม่ที่ได้รับความนิยม สำหรับกิจการกระจายเสียงในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ราวปี ค.ศ.1921 การเริ่มขออนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงในยุคแรก ๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา และเริ่มมีการใช้วิทยุกระจายเสียงเพื่อการสอนทางไกลช่วงทศวรรษที่ 1930 แต่ต่อมาระบบธุรกิจเข้าครอบงำมากขึ้นจนวิทยุเพื่อการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ในสภาวะที่ตกต่ำลง
........ในช่วงทศวรรษที่ 1950 วิทยุโทรทัศน์เกิดเป็นปรากฏการณ์ใหม่ในสังคมตะวันตกซึ่งสามารถใช้เป็นสื่อเพื่อการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิทยุโทรทัศน์จึงมีบทบาทสำคัญและกลายเป็นเทคโนโลยีแถวหน้าของสังคมนับแต่บัดนั้น นักวิชาการบางท่านถือว่าช่วงระหว่างทศวรรษที่ 1950 ถึง 1960 นี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในแวดวงเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเนื่องจากการก่อกำเนิดของวิทยุโทรทัศน์ และยังได้มีการนำเอาทฤษฎีทางด้านสื่อสารมวลชนและทฤษฎีระบบเข้ามาใช้ในวงการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอีกด้วย ดังนั้น ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1950 จึงมีการใช้คำว่า "การสื่อสารทางภาพและเสียง" หรือ "audio-visual communications" แทนคำว่า "การสอนทางภาพและเสียง" หรือ "audio-visual instruction" ซึ่งย่อมเป็นเครื่องชี้ชัดประการหนึ่งว่า เทคโนโลยีการสื่อสารนั้น คือเครื่องมือสำคัญในการถ่ายทอดการเรียนการสอนนั่นเอง
.........ในทวีปยุโรป วิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาเริ่มต้นในช่วงต้นทศวรรษที่ 1950 โดย British Broadcasting Corporation หรือ BBC ในปี ค.ศ. 1958 ประเทศอิตาลีก็ริเริ่มบ้างโดยมีการสอนตรงผ่านสื่อวิทยุโทรทัศน์ผ่าน Telescuola (Television School of the Air) ส่วนประเทศในเครือคอมมิวนิสต์ได้มีโอกาสรับชมรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาเป็นครั้งแรกในปี 1960 นำโดยประเทศยูโกสลาเวีย ตามติดด้วยประเทศโปแลนด์ สำหรับประเทศ โซเวียตนั้น ได้เริ่มออกอากาศรายการทั่วไปและรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาเมื่อปี 1962ในปี 1965 ประเทศอื่นๆ ในยุโรปตะวันออกก็ได้ทำการออกอากาศรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาโดยผ่านดาวเทียมกันอย่างแพร่หลาย
.........ปี ค.ศ. 1962 ประเทศจีนคอมมิวนิสต์ริเริ่มทำการสอนในวิชาต่างๆ เช่น เคมี ฟิสิกส์ในระดับมหาวิทยาลัย โดยผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์เซี่ยงไฮ้ นอกจากนั้นสถานีวิทยุโทรทัศน์อื่น ๆ เช่น ในปักกิ่ง เทียนสิน และกวางตุ้ง ต่างก็เผยแพร่รายการมหาวิทยาลัยทางโทรทัศน์ (Television Universities) เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนในระดับชาติเพื่อการศึกษาสำหรับประชาชน อย่างไรก็ตามประเทศญี่ปุ่นได้รับการยกย่องว่าเป็นประเทศแรกในโลกทีมีการบูรณาการการใช้วิทยุโทรทัศน์เข้ากับโครงสร้างของการศึกษานับตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัย และยังรวมถึงการให้การศึกษาผู้ใหญ่ในสาขาวิชาต่างๆ อย่างกว้างขวางด้วย ก่อนสิ้นปี 1965 ประเทศญี่ปุ่นมีสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาออกอากาศทั่วประเทศเป็นจำนวนถึง 64 สถานี
.........ประเทศในอเมริกาใต้ เริ่มดำเนินการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษานับตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1950 นำโดยประเทศโคลอมเบีย ซึ่งทำการออกอากาศวิชาต่างๆ ในระดับประถมศึกษาอย่างเต็มรูปแบบระหว่างชั่วโมงเรียนปกติโดยผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ ต่อมาประเทศโคลอมเบียได้รับความช่วยเหลือจากโครงการอาสาสมัครเพื่อสันติภาพจากประเทศสหรัฐอเมริกา จึงเป็นผลให้ประเทศโคลอมเบียกลายเป็นแบบอย่างของวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาในเวลาต่อมา
........แม้ว่าการเติบโตของวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาจะเกิดขึ้นทั่วโลกก็ตาม การพัฒนาที่เด่นชัดที่สุดเห็นจะได้แก่ประเทศสหรัฐอเมริกา การทดลองครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาเกิดขึ้นที่ lowa University ในช่วงระหว่างปี 1932-1939 โดยมีการผลิตรายการในวิชาต่างๆ เช่น วิศวกรรมศาสตร์ พฤกษศาสตร์ ศิลปะ การละคร และชวเลข เป็นต้น มหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกา 5 แห่งที่ถูกจัดว่าเป็นผู้บุกเบิกในวงการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาของประเทศ ได้แก่
lowa University ที่ lowa City, lowa State University ที่ Ames, Kansas State University, University of Michigan และ American University การเติบโตของวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วง ค.ศ. 1953-1967 นับว่าสูงมาก เพราะมีสถานีวิทยุโทรทัศน์ เพื่อการศึกษาทั่วประเทศเป็นจำนวนถึง 140 สถานี เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากร 140 ล้านคนในขณะนั้น มีการคาดคะเนว่า ในช่วงเวลาดังกล่าว รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาสามารถเข้าถึงโรงเรียนได้ไม่ต่ำกว่า 2,000 โรง และเข้าถึงนักเรียนระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ได้ไม่ต่ำกว่า 15 ล้านคนทีเดียว.........เทคโนโลยีการศึกษาและการสื่อสารได้มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาขึ้นอย่างมากในช่วงปลายทศวรรษที่ 1960 เมื่อโลกได้หันเข้ามาสู่ยุคของคอมพิวเตอร์ ในด้านการศึกษานั้น ได้มีการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนเป็นครั้งแรกในปี 1977 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อบริษัท APPLE ได้ประดิษฐ์เครื่อง APPLE II ขึ้น โดยการใช้ในระยะแรกนั้นมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการบริหารจัดการ ต่อมาได้มีการพัฒนาโปรแกรมต่างๆ เพื่อให้ใช้ได้ง่ายและสามารถช่วยในการเรียนการสอนได้มากขึ้น คอมพิวเตอร์จึงเป็นสิ่งที่ครูและนักเรียนคุ้นเคย และมีการใช้กันอย่างแพร่หลายจนทุกวันนี้
..........ยุคของมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาได้เริ่มขึ้นในปี 1987 เมื่อบริษัท APPLE ได้เผยแพร่โปรแกรมมัลติมีเดียครั้งแรกออกมา คือโปรแกรม HyperCard แม้ว่าโปรแกรมนี้จะต้องใช้เครื่องที่มีกำลังสูง ต้องใช้เวลาในการฝึกหัดมาก แต่ผลงที่ได้รับก็น่าประทับใจ การพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการศึกษาได้มีการดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนาโปรแกรม Hyper Studio มาใช้ และได้รับความนิยมมากขึ้นในหลายๆ โรงเรียน อย่างไรก็ตาม เพียงภายในสองปี มัลติมีเดียเพื่อการศึกษาก็ถูกแทนที่โดยสิ่งที่น่าตื่นเต้นมากกว่า นั่นก็คือ อินเทอร์เน็ต (Internet) นั่นเอง
.........ปัจจุบันนี้ อินเทอร์เน็ตมีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว The Department of Commerce's Census Bureau ของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการสำรวจในเดือนกันยายน พ.ศ. 2544 พบว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จำนวนคนอเมริกันที่ใช้อินเทอร์เน็ตมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึงเดือนละสองล้านคน ซึ่งทำให้ตัวเลขประชากรที่ออนไลน์มีจำนวนกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศสหรัฐอเมริกาผลการสำรวจรายงานว่า ปัจจุบันนี้ คนอเมริกันที่ใช้คอมพิวเตอร์มีจำนวนถึง 174 ล้านคน (หรือร้อยละ 66 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ) และมีชาวอเมริกันใช้อินเทอร์เน็ตทั้งสิ้นประมาณ 143 ล้านคน (ราว ๆ ร้อยละ 54 ของประชากร) ส่วนในประเทศไทยนั้นบริษัท ACNielsen ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยการตลาดระดับนานาชาติ ได้ทำการสำรวจผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในเขตเมืองใหญ่ในแต่ละภาคของประเทศไทยเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 และพบว่าครอบครัวในเมืองใหญ่ที่มีคอมพิวเตอร์เป็นของตนเองมีเพียงร้อยละ 24 เท่านั้น ส่วนจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งประเทศมีจำนวนประมาณ 10 ล้านคน (ราวๆ ร้อยละ 16.6 ของประชากร) ในจำนวนนี้ ส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้ในเขตกรุงเทพมหานคร นอกจากนั้นศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ก็ได้ทำการสำรวจผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยในช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม 2544 เช่นกัน พบว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตร้อยละ 52 อยู่ในกรุงเทพมหานคร เป็นเพศชายร้อยละ 48.8 และเพศหญิงร้อยละ 51.2 ในจำนวนผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้ทีมีอายุระหว่าง 20-29 ปี (ร้อยละ 49.1) และเป็นผู้มีการศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 60.3) อย่างไรก็ตาม การวิจัยทั้งสองให้ผลที่ตรงกันว่า คนไทยส่วนใหญ่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อส่ง e-mail ค้นหาข้อมูล ติดตามข่าวสาร และสนทนา (chat)
.........นอกจากนั้นยังมีการสรุปด้วยว่าการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยแพร่หลายมากขึ้น เพราะค่าใช้จ่ายถูกลง และมีอินเทอร์เน็ตคาเฟมากขึ้น การพัฒนาอันน่ามหัศจรรย์ใจของของอินเทอร์เน็ตในฐานะที่เป็นเครือข่ายแห่งเครือข่ายทำให้มีการเชื่อมโยงกันได้อย่างเสรีไม่มีการปิดกั้น ดังนั้นคนทุกคนจึงสามารถเผยแพร่ข้อมูลของตนบนอินเทอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย พอ ๆ กับการที่สามารถสืบค้นข้อมูลได้จากแหล่งความรู้ต่างๆ ทั่วโลก และจากคุณสมบัติดังกล่าวนี้ อันเทอร์เน็ตจึงมีประโยชน์อย่างยิ่งในการศึกษารูปแบบต่างๆ เพราะนักเรียนและครูสามารถสื่อสารถึงกันได้โดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น อีเมล์ การแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านระบบ bulletin board และ biscussion groups ต่างๆ ตลงอดจนการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยยิ่งขึ้นในการโทรศัพท์หรือประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตจึงเพิ่มบทบาทสำคัญในการศึกษารูปแบบใหม่และยังช่วยเปลี่ยนบทบาทของครูจาก "ผู้สอน" มาเป็น "ผู้แนะนำ" พร้อมทั้งช่วยสนับสนุนให้เด็กสามารถเรียนและค้นคว้าด้วยตนเองอีกด้วยพัฒนาการเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทยเทคโนโลยีการศึกษาของไทยมีการพัฒนาการมา 3 ยุค คือ
........1. ยุคแรกสมัยกรุงสุโขทัยจนถึงสมัยกรุงธนบุรี ยุคนี้เป็นยุคเริ่มต้นของการพัฒนาเทคโนโลยีทางการศึกษาของไทย ในสมัยสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรง ประดิษฐ์อักษรไทย เพราะตัวอักษรเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเผยแพร่วิทยาการต่างๆ ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น และทำให้คนไทยเกิดความรู้สึกหวงแหนชาติไทยนอกจากนี้พระองค์ยังทรงเอาใจใส่ต่อการศึกษาของประชาชนด้วย ดังเช่น การสั่งสอนประชาชน ณ พระแทนมนังคศิลา ทั้งด้วยพระองค์เองและทรงนิมนต์พระภิกษุมาสั่งสอน เล่าเรื่อง การเทศนา การเขียนเป็นหนังสือ ฯลฯ ยุคนี้มีเทคโนโลยีการศึกษาผ่านสื่อวรรณกรรมที่สำคัญ 2 เรื่อง คือ ภาษิตพระร่วง และไตรภูมิพระร่วง ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เทคโนโลยีการศึกษาได้ก้าวหน้าไปมาก ทั้งด้านวิชาการทั้งในประเทศและวิทยาการจากประเทศตะวันตก หนังสือเรียนเล่มแรกของไทยชื่อ จินดามณีก็เกิดขึ้นในยุคนี้ นอกจากนี้ก็มี วรรณกรรมต่างๆเกิดขึ้นมากมาย ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์ทรงดำเนินนโยบายต่างประทศระบบเปิด ต้อนรับชาวต่างประเทศ การค้าและการศาสนา ส่วนหนึ่งของชาวยุโรปเหล่านี้ ได้แก่ คณะมิชชั่นนารี ได้นำวิทยาการใหม่ ๆ หลายประการจากยุโรปมาเผยแพร่ในประเทศด้วย เช่น การพิมพ์ การจัดตั้งโรงเรียน แต่วิทยาการเหล่านี้ไม่ได้นำมาใช้อย่างจริงจัง ก็เลิกล้มไปเพราะพระมหากษัตริย์สมัยหลังสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ไม่ต้องการให้ชาวยุโรปเข้ามาดำเนินการกิจการต่างๆ ในประเทศไทย ในสมัยกรุงธนบุรี เทคโนโลยีการศึกษามีไม่มากนัก ทั้งนี้เพราะประเทศได้รับความเสียหายมาก จากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 พระเจ้ากรุงธนบุรีใช้เวลาส่วนใหญ่ในการรวบรวมคนไทย และบูรณะประเทศให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง อีกทั้งสมัยนี้มีระยะเวลาสั้นเพียง 15 ปีเทคโนโลยีการศึกษาในสมัยนี้จึงมีเพียงวรรณกรรมเท่านั้น
........2. เทคโนโลยีการศึกษายุคปรับเปลี่ยน ในยุคนี้นับตั้งแต่สมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกา ได้เข้ามามีอิทธิพลในประเทศไทยมากขึ้น แทนอังกฤษและฝรั่งเศษ สหรัฐอเมริกาได้นำเทคโนโลยีการศึกษาสมัยใหม่หลายอย่างมาเผยแพร่ในประเทศไทย เริ่มต้นด้วยภาพยนตร์ ที่สำนักข่าวสารอเมริกัน ได้นำมาฉาย หลายเรื่องมาสามารถนำมาใช้ในการศึกษาได้ ทำให้คนไทยเห็นคุณค่าของภาพยนตร์เพื่อนำมาใช้ในการศึกษา กองการศึกษาผู้ใหญ่ กระทรวงศึกษาธิการเริ่มนำภาพยนตร์มาใช้ในการให้การศึกษา ในยุคนี้เองได้มีการบัญญัติศัพท์ " โสตทัศนศึกษา" ขึ้นโดยมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Audio Visua
l.........โสตทัศนศึกษาในยุคนี้พัฒนาอย่างมีระบบแบบแผน อีกทั้งได้มีการเปิดสอนในระดับอุดมศึกษา ทั้งขั้นปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา ทำให้ก้าวหน้ากว่าทุกยุคที่ผ่านมาโดยเฉพาะสหรัฐมเมริกาเข้ามามีอิทธิพลอย่างมากในการจัดการศึกษาของไทย ทั้งนี้เพราะมีนักการศึกษาและผู้บริหารการศึกษาคนไทยได้มีโอกาสไปศึกษาในสหรัฐอเมริกา เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เทคโนโลยีการศึกษาในยุคนี้แบ่งออกได้เป็นรูปแบบต่างๆดังนี้
.....1) เทคโนโลยีการสอน ได้มีการคิดค้นวิธีการเรียนการสอนใหม่ ๆ ขึ้นมาหลายอย่าง ทั้งจากการประยุกต์จากวิทยาการของต่างประเทศและจากการสร้างขึ้นมาเอง เช่น ระบบการเรียนการสอนแบบศูนย์การเรียน ระบบการสอนแบบเบญจขันธ์ ระบบการสอนแบบจุลภาค ระบบการการสอนแบบสืบสวนสอบสวน ฯลฯ ซึ่งระบบการเรียนการสอนที่ได้รับการพัฒนาขึ้นนี้ ล้วนเอาแนวคิดจากตะวันตกมาทั้งสิ้น
.......2) เทคโนโลยีด้านสื่อ สื่อการศึกษาในยุคนี้ส่วนใหญ่พัฒนามาจากผลิตผลทางด้านวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ เช่น เครื่องฉายภาพยนต์ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายภาพโปร่งใส นอกจากนี้ยังได้มีการนำวิทยุและวิทยุโทรทัศน์มาใช้เพื่อการศึกษาด้วย แต่การนำรูปแบบสื่อจากประเทศตะวันตกมาใช้ทำให้เกิดปัญหาหลายประการ เพราะสภาพทางสังคมและเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน นักการศึกษาของไทยจึงได้พัฒนาสื่อการศึกษาขึ้นมาเองเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ โดย การใช้ทรัพยากรพื้นบ้าน ใช้สื่อราคาเยาว์เช่น ผลงานวัตกรรมพื้นบ้านเพื่อการสอนของธนู บุญรัตพันธุ์ วิธีการและวัสดุอุปกรณ์การสอนวิทยาศาสตร์ที่ผู้สอนคิด ประดิษฐ์ขึ้นเองเช่นวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของ โช สาลีฉันท์ ซึ่งมีผลิตผลที่ใช้วัสดุเหลือใช้ต่างๆ ในท้องถิ่น จึงเป็นแนวโน้มที่ดีในการเลือกและใช้สื่อในการศึกษา
........3) การจัดตั้งหน่วยงานเพื่อรับผิดชอบเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษา ได้มีการจัดตั้งสถาบันและหน่วยงานต่างๆขึ้นเช่น ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในสถาบันการศึกษาต่างๆก็มีการจัดตั้งศูนย์ที่ทำหน้าที่ด้านสื่อขึ้นมา เพื่อตอบสนองและส่งเสริมประสิทธิภาพในการศึกษาของผู้เรียนให้มากขึ้น........เทคโนโลยีการศึกษาในยุคสารสนเทศ เป็นยุคที่คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการสื่อสารเป็นอย่างยิ่งคือเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา อิทธิพลของคอมพิวเตอร์ที่มีต่อการสื่อสารและสังคมทำให้บทบาทของเทคโนโลยีการศึกษาต้องปรับเปลี่ยนตามไปด้วย เทคโนโลยีการศึกษาในยุคนี้จึงแบ่งได้เป็น
รูปแบบคือ
1) เทคโนโลยีด้านสื่อ
2)เทคโนโลยีการสื่อสาร
3)เทคโนโลยีด้านระบบ
4)เทคโนโลยีการสอน
5) นักเทคโนโลยีการศึกษาของไทยนักเทคโนโลยีทางการศึกษาของไทย ตั้งแต่ยุคแรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน ที่สำคัญได้แก่
1 .พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ผู้ประดิษฐ์อักษรไทย
2 .พระมหาธรรมราชาลิไทย ผู้นิพนธ์ "ไตรภูมิพระร่วง"
3 .พระโหราธิบดี ผู้แต่ง "จินดามณี" ซึ่งเป็นแบบเรียนเล่มแรกของไทย
4 .พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว "บิดาสาขาวิทยาศาสตร์ และให้แนวคิดมหาวิทยาลัยเปิด
ของไทย
5 .พุทธทาสภิกขุ ในฐานะที่ได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการเผยแพร่ธรรม
6 .ศาสตราจารย์สำเภา วรางกูล ในฐานะผู้ริเริ่มและบุกเบิก นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาสมัยใหม่ในไทย
7 .รองศาสตราจารย์ ดร.เปรื่อง กุมุท ผู้คิดวิธีสอนแบบเบญจขันธ์
8 .ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ นักเทคโนโลยีการศึกษา ที่เน้นแนวคิดทางพฤติกรรมศาสตร์ ผลงานที่สำคัญได้แก่ ระบบการเรียนการสอน แบบศูนย์ การเรียน ระบบแผนจุฬา แบบ มสธ.. ฯลฯ
9 .อาจารย์ธนู บุณยรัตพันธ์ นักเทคโนโลยีการศึกษาที่มีผลงานทั้งด้านวัสดุอุปกรณ์ การสอนโดยเฉพาะในด้านวัสดุอุปกรณ์ในท้องถิ่น
10 .ศาสตราจารย์ ดร. วีรยุทธ วิเชียรโชติ นักจิตวิทยาและเทคโนโลยีการศึกษาที่ได้ประยุกต์หลักธรรมทางพุทธศาสนามาใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน ผลงานที่สำคัญ ได้แก่ ระบบการเรียนการสอน แบบสืบสวนสอบสวน
11 .รองศาสตราจารย์ โช สาลีฉัน นักเทคโนโลยีทางการศึกษาที่มีผลงานเด่นในด้านการผลิตวัสดุอุปกรณ์การสอนวิทยาศาสตร์ จากทรัพยากรพื้นบ้าน
12 .ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสะอ้าน ผู้ริเริ่มตั้งมหาวิทยาลัยเปิดโดยการสอนทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช........มุมมองเทคโนโลยีที่สมัยเก่ามองเป็นภาพของโสตทัศนศึกษาเปลี่ยนไป ปรับเป็น เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร แนวคิดของเทคโนโลยีการศึกษายังอยู่แต่เน้นการนำเอาเทคโนโลยีสื่อสารและการสนเทศ (Information and Communication Technology) มาใช้เพื่อความทันสมัยและทันกับความก้าวหน้าของการสื่อสารสภาพปัจจุบันของเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทย สิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา..........ปัจจุบันสิ่งพิมพ์ในเมืองไทยมีการใช้อย่างกว้างขวาง ทั้งประโยชน์ทางด้านการศึกษา เศรษฐกิจ การเมือง และสังคม สิ่งพิมพ์จึงมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของประชาชนคนไทยอยู่มาก ปัจจุบันนี้มีทั้งหน่วยงานรัฐบาลลัสำนักพิมพ์เอกชนที่ต่างแข่งขันผลิตสิ่งพิมพ์ออกมาหลายประเภทด้วยกันสิ่งพิมพ์ทั่วไป (Printed Material) หมายถึงสางที่ใช้ระบบพิมพ์ถ่ายทอดข้อความและภาพที่แสดงความรู้วิทยาการก้าวหน้า ข้อมูลข่าวสาร ความคิด ความเชื่อ ประสบการณ์ และจินตนาการของมนุษย์ เผยแพร่ออกไปสู่ผู้อ่านอย่างกว้างขวางและทั่วถึง ในรูปลักษณ์ต่างๆ เช่น หนังสือเล่ม หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร จุลสาร แผ่นพับ แผ่นปลิว สลาก เป็นต้น
...........สิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา (Educational/Instructional Material) หมายถึงสิ่งพิมพ์ในรูปลักษณ์ต่างที่จัดทำขึ้นเป็นเครื่องมือในการเรียนการสอน ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ เจตคติ ค่านิยม ความรู้ สึก ประสบการณ์การเรียนรู้ สำหรับการนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนและผู้สอน เช่น หนังสือ ตำราเรียน แบบเรียนแบบฝึกหัด ใบงาน คู่มือการสอน และสื่อเสริมการเรียนรู้ ซึ่งได้แก่ หนังสือเสริมความรู้ สารานุกรม พจนานุกรม หนังสืออุเทศ หนังสือพิมพ์ หนังสือบันเทิงคดี และสารคดีที่มีเนื้อหาเป็นประโยชน์ เป็นต้นเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
........ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา" หมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทคซึ่งประกอบด้วยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายโทรคมนาคมที่ต่อเชื่อมกัน สำหรับส่งและรับข้อมูลและมัลติมีเดียเกี่ยวกับความรู้โดยผ่านกระบวนการประมวลหรือจัดทกให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายและความสะดวก มาใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้คนไทยสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา ได้มีวิฒนาการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเกิดขึ้นในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งนั้นมาจากกระแสโลกาภิวัฒน์และความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อีกส่วนเกิดจากแรงผลักดันภายในประเทศเอง ประเทศไทยได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2535 ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ต่อมาเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2539 คณะรัฐมนตรีได้มติให้ประกาศใช้ " หรือ IT 2000 โดยมีเสาหลักในการพัฒนา 3 ประการคือ
.......1) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ( National Information Infrastructure หรือ NII)
.......2) พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ( Human Resource Development) และ
.......3) พัฒนาระบบสารสนเทศและปรับปรุงบทบาทภาครัฐเพื่อการบริการที่ดีขึ้น รวมทั้งสร้างรากฐาน อุตสาหกรรมสารสนเทศที่แข็งแกร่ง (IT for Good Governance) สำหรับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้น ได้มีการกไหนดกลยุทธ์ไว้ 2 ประการ คือ
.......1. เร่งสร้างบุคลากรที่มีทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทุกระดับเพื่อแก้ปัญหาความขาดแขลง แลเพื่อเตรียมรับความต้องการของตลาด
.......2. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพื่อการศึกษาและการฝึกอบรมทุกระดับทั้งในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และมนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์นโยบายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษาของประเทศไทย
.......1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารของประชาชนเสรีภาพในการสื่อสาร ( มาตรา 37 ) เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น สื่อความหมาย และเสนอข่าว ( มาตรา 36 และ 41 ) สิทธิ์ในการได้รับข้อมูลข่าว ความคิดเห็น สื่อความหมาย และเสนอข่าว ( มาตรา 39 และ 41 ) สิทธิ์ในการได้รับข้อมูลข่าวสาร ( มาตรา 58 และ 59 ) การกระจายอำนาจในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นสารสนเทศ(มาตรา 78 ) และเสรีภาพในการใช้สื่อสารมวลชน ( มาตรา 37) และ เสรีภาพในการใช้สื่อสารมวลชน ( มาตรา37,39,41,58,และ 59) ที่สำคัญคือ บทบัญญัติในมาตรา 40 ซึ่งระบุไว้ว่า คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และ วิทยุโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ตามวรรณหนี่งและกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจกรรมโทรคมนาคมทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
........การดำเนินการตามวรรคสองต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่ง ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรมความมั่นคงของรัฐ และ ประโยชน์สาธารณะ รวมทั้งการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม"
.........การจัดทำแผนแม่บทกิจกรรมกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และการอนุญาตให้ประกอบกิจกรรมดังกล่าว ต้องคำนึงถึงสัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างผู้ประกอบการภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยจะต้องจัดให้ภาครประชาชนได้ใช้คลื่นความถี่ไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบ ในกรณีที่ภาคประชาชนยังไม่มีความพร้อมในกรณีที่ภาคประชาชนยังไม่มีความพร้อมให้ กสช ให้การสนับสนุนการใช้คลื่นความถี่ในสัดส่วนตามที่กำหนด เพื่อประโยชน์ในการจัดสรรคลื่นความถี่ให้ภาคประชาชนได้ใช้ และการสนับสนุนการใช้คลื่นความถี่ให้ ประชาชนใช้และการสนับสนุนการใช้เคลื่นความถี่ของประชาชน ให้ กสช. กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับลักษณะของภาคประชาชนที่พึงได้รับการจัดสรรและสนับสนุนให้ใช้คลื่นความถี่ รวมทั้งลักษณะการใช้คลื่นความถี่ที่ได้รับจัดสรร โดยอย่างน้อยประชาชนนั้นต้องดำเนินิการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สาธารณะและไม่แสวงหากำไรในทางธุรกิจ
........มาตรา 27 การกำหนดเกณฑ์และการพิจารณาออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และใบ อนุญาตให้ประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ให้คำนึงถึงประโยชน์สาธารณะตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 25 เป็นสำคัญ
........2.พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 9 ว่าด้วยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
........1) มาตรา 63 รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุการจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และ การสื่อสารในรูปอื่น เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทะนุบำรุงศาสนา ศิลป และวัฒนธรรมตามความจำเป็น
........2) มาตรา 64 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิต และพัฒนาแบบเรียนตำราหนังสือทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ วัสดุอุปกรณ์ และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น โดยเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตจัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แจงจูงใจแก่ผู้ผลิต จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิต และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ทั้งนี้ โดยเปิดให้มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม
........3) มาตรา 65 ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ
.......4) มาตรา 66 ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้ เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
.......5) มาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อ ให้เกิดการใช้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย
........6) มาตรา 68 ให้มีการระดมทุน เพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จากเงินอุดหนุนของรัฐ ค่าสัมปทานและผลกำไรได้จากการดำเนินกิจการด้านสื่อมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคมจากทุกฝ่ายเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรประชาชน รวมทั้งให้มีการลดอัตราค่าบริการเป็นพิเศษในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อการพัฒนาคนและสังคมหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรวเงินกองทุนเพื่อผลิต การวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
........7) มาตรา 69 รัฐต้องจัดให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบายแผน ส่งเสริม และประสานการวิจัย การพัฒนาและการใช้ รวมทั้งการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่มา http://www.nmc.ac.th/database/file_science/unit1.docเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้สำหรับครู
.........ความรู้ความสามารถของครูเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี ในการใช้คอมพิวเตอร์ของครู มีครูที่มีความสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในระดับพื้นฐาน คิดเป็นร้อยละ 31.26 ใช้ Internet ในระดับพื้นฐานคิดเป็นร้อยละ 35.09 และการบูรณาการเทคโนโลยีกับวิชาหรือกลุ่มสาระการเรียนรู้ในระดับพื้นฐานคิดเป็นร้อยละ 31.57 ใช้เทคโนโลยีประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในระดับพื้นฐาน คิดเป็นร้อยละ 37.27 แสดงให้เห็นว่าครูยังมีความรู้ ความสารถด้านเทคโนโลยีเพียง ในระดับพื้นฐาน ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีไม่เป็น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าครูส่วนใหญ่มีอายุค่อนข้างมากแล้วและไม่มีความรู้พื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีมาก่อนจึงทำให้เกิดการพัฒนาตนเองค่อนข้างช้ามาก โดยเฉพาะในเรื่องของการตั้งกลุ่มเพื่อการช่วยเหลือซึ่งกันและกันเกือบจะไม่ได้ทำเลย และครูส่วนมากก็ไม่นำเทคโนโลยีไปบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ รวมทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ส่วนใหญ่ก็ไม่นำเทคโนโลยีมาใช้ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าครูไม่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีตลอดจนไม่สามารถติดตั้งและบำรุงรักษาเครื่องได้ครูใช้เทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จาก 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้.........ครูจะนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในวิชาคอมพิวเตอร์คิดเป็นร้อยละ 26.12 ส่วนวิชาที่รองลงมาที่ครูนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้แก่วิชาภาษาไทย คิดเป็นร้อยละ 14.61 แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีโอกาสในการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ได้ในวิชาคอมพิวเตอร์มากกว่าวิชาอื่น ๆ ส่วนในรายวิชาอื่น ๆ ก็พอได้เรียนรู้บ้างแต่ไม่มากนัก ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าครูที่สอนวิชาคอมพิวเตอร์นั้นคงเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในระดับดีพร้อมที่จะดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้
........สภาพการใช้คอมพิวเตอร์ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดให้ของครูรายการที่ครู ใช้มากได้แก่ ใช้พัฒนาทักษะวิชาชีพครู เตรียมการสอนและสร้างสื่อการสอน ค้นสารสนเทศ ทางการศึกษา และค้นคว้าเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รายการที่ครูไม่ได้ใช้เลย ได้แก่ สอนทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ใช้สำหรับการนำเสนองาน ใช้สื่อสารระหว่างนักเรียน ครูและผู้เกี่ยวข้องและใช้ตรวจสอบผลงาน/ทำรายงานของนักเรียน
.........แสดงให้เห็นว่าสภาพการใช้คอมพิวเตอร์ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดให้ครูจะใช้คอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาทักษะวิชาชีพครู มากกว่าการเตรียมการสอนและสร้างสื่อการสอน แสดงให้เห็นว่าครูใช้คอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาตนเอง เช่นจัดทำผลงานเพื่อเลื่อนระดับให้กับตนเองมากกว่าที่จะค้นคว้าหาความรู้เพื่อเตรียมการสอนรวมทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียน
........การใช้ ICT ในการเรียนและบูรณาการความนำคอมพิวเตอร์ ถือเป็นสื่อนวัตกรรมใหม่อย่างหนึ่ง เพิ่งแพร่หลายขึ้นมาประมาณ 40 ปี มานี้เอง คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดเก็บ คำนวณ ประมวลผล แสดงผล หรืองานอื่นใด ตามคำสั่ง ที่จัดทำขึ้น แล้วบันทึกเก็บไว้ในหน่วยความจำของอุปกรณ์นั้น ปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์อย่างรวดเร็วมาก จนเป็นสื่อสำคัญยิ่งในการนำเข้าสู่ยุคข้อมูลข่าวสาร ทุก ๆ วินาที สามารถรับรู้ความเป็นไปในทุกพื้นพิภพได้เกือบพร้อมกัน ทั้งที่อยู่กันคนละซีกโลก การรับรู้ข่าวสารที่รวดเร็วนำประโยชน์สู่ผู้ใช้ นำประโยชน์สู่ประเทศชาติได้อย่างมหาศาล เช่น สามารถติดต่อค้าขายกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยที่ผู้ซื้อและผู้ขายไม่ต้องพบหน้ากัน ไม่มีข้อจำกัดของเวลา ไม่มีข้อจำกัดด้านพรมแดน สามารถใช้ระบบ E - Commerce และใช้ในเรื่องการศึกษา การแสวงหาความรู้ การสื่อสาร รวมถึงกิจการอื่น ๆ มากมาย หากผู้ใช้สามารถใช้ประโยชน์เป็นอย่างคุ้มค่า
..........หลายปีที่ผ่านมาโรงเรียนที่มีความพร้อมเริ่มนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในโรงเรียนกันมากขึ้น โดยโรงเรียนดังกล่าวมักจะอยู่ในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ที่มีเศรษฐกิจดี ผู้ปกครองมีฐานะทางเศรษฐกิจมั่นคง ช่วงแรกเริ่มใช้เพื่อการบริหารจัดการก่อน เรียกว่า Computer Assisted Management โปรแกรมนี้ช่วยจัดการด้านงานธุรการ เงินเดือน ห้องสมุด งานปกครอง และอื่น ๆ ระยะต่อมาคอมพิวเตอร์มีราคาถูกลง โรงเรียนต่าง ๆ เริ่มนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งเรียกว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า " CAI " หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อเสนอเนื้อหา กระตุ้นเร้าให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ ต้องการเรียนรู้ บทบาทของ CAI มีมากขึ้น ผลที่ได้ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่ตนเองต้องการ ตรงตามความประสงค์ เป็นการตอบสนองความเป็น Child Center ได้ประการหนึ่ง
.........ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายให้โรงเรียนต่าง ๆ ใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง สภาพการณ์ดังกล่าวทำให้ผู้ปกครองเกิดความตื่นตัว ต้องการที่จะให้บุตรหลานได้เรียนรู้จากคอมพิวเตอร์มากขึ้น จนกลายเป็นกระแสของความทันสมัย โรงเรียนใดไม่สอนวิชาคอมพิวเตอร์ ผู้ปกครองจะย้ายเด็กไปเรียนโรงเรียนอื่นที่สอนคอมพิวเตอร์ เป้าหมายสำคัญที่นอกเหนือไปจากภาระงานปกติของโรงเรียน คือการจัดการศึกษาให้ตอบสนองความต้องการของชุมชน ผู้บริหาร คณะครู กรรมการสถานศึกษาการพัฒนาบุคลากรโรงเรียนประถมศึกษา โดยทั่วไปครูจะมีคุณวุฒิตรงสาขาวิชาเอกน้อยและยังไม่สามารถเลือกครูได้ตรงตามความต้องการของโรงเรียน จึงส่งผลถึงการจัดการเรียนการสอน หน้าที่ของโรงเรียนต้องดำเนินการ คือ พัฒนาให้ครูมีศักยภาพ สามารถทำงานสนองความต้องการของผู้เรียน และสนองตอบพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้การพัฒนาครู เป็นสิ่งจำเป็นโดยอาจดำเนินการพัฒนาครูได้ ดังนี้
.......1. พัฒนาให้ครูทุกคนมีความรู้พื้นฐานในการใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นฐานในการเรียนรู้ และใช้คอมพิวเตอร์จัดการเรียนการสอนได้
.......2. กำหนดมาตรฐานเบื้องต้นของครูที่จะเข้าทำหน้าที่ครูคอมพิวเตอร์ ไว้ดังนี้
2.1 ต้องมีวิสัยทัศน์ มีความคิดกว้างไกล ทันเหตุการณ์ของโลก
2.2 พัฒนาตนเองอยู่เสมอ ให้รอบรู้และรู้รอบ ในเรื่องใหม่ ๆ อยู่เป็นนิจ
2.3 ขยัน ทันสมัย ใจรัก สละเวลาคนที่มีใจรักในสิ่งใด มักจะทุ่มเท เสียสละ ขยัน มุ่งมั่นทำในสิ่งที่ตนรัก งานคอมพิวเตอร์ เป็นงานที่หนัก และมีความสำคัญสูง ด้วยครูมีภาระหลากหลาย ด้วยเหตุที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ส่วนอื่น ๆ เป็นฝ่ายบริการอำนวยความสะดวกได้ หลังจากที่โรงเรียนให้ความรู้ ฝึก และพัฒนาครูให้มีความรู้พื้นฐานทางคอมพิวเตอร์แล้ว รูปแบบการใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และการแข่งขันการพัฒนาทางด้านซอฟต์แวร์ ในปัจจุบัน ส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในด้านการศึกษากันมาก การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(Computer Assisted Instruction) มีบทบาทและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นการพัฒนาผู้เรียนอีกทางหนึ่ง โดยอาศัยประสบการณ์ ความรู้ ปรับประยุกต์ใช้ภายใต้บริบทของโรงเรียน
1. จัดการเรียนรู้ "ตลอดเวลา" (Anytime) เวลาใดก็สามารถเรียนรู้ได้ ระยะแรกเริ่มให้นักเรียนสามารถใช้ Computer สืบค้นหาความรู้จากห้องสมุด ซึ่งมีเครื่องคอมพิวเตอร์ให้บริการระบบ Internet
.......2. เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ "ทุกหนแห่ง" (Anywhere) นักเรียนสามารถเรียนรู้ร่วมกันจากสื่อต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ วีดิทัศน์ โทรทัศน์ CAI และอื่นๆ
.......3. การให้ทุกคน (Anyone) ได้เรียนรู้พัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพของตน ตั้งแต่ระดับอนุบาลเป็นต้นไปการใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้การเรียนรู้ในปัจจุบันแตกต่างจากเดิมไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งหมายความว่า ผู้เรียนมีโอกาส มีอิสระในการเรียนรู้ด้วยตนเอง สร้างองค์ความรู้ สร้างทักษะด้วยตนเอง ครูเปลี่ยนบทบาทจากผู้สอนมาเป็น ผู้ให้คำแนะนำ นอกจากนี้ทั้งครูและศิษย์สามารถเรียนรู้ไปพร้อมกันได้ การจัดการเรียนที่โรงเรียนดำเนินการได้ในขณะนี้
........1. การสอนโดยใช้สื่อ CAI ช่วยสอนให้เกิดการเรียนรู้ตามความสนใจ เช่น วิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาไทย วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคม หรือ สปช. วิชาภาษาอังกฤษ
........2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักสืบค้นวิทยาการใหม่ ๆ จากอินเทอร์เน็ต
........3. จาก E-book จาก E-Library
........4. ส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างเจตคติที่ดีในการเรียนและการค้นคว้าหาความรู้ โดยกำหนดให้ผู้เรียนได้เล่นเกมการศึกษา (Education Games ) ที่ผ่านการวิเคราะห์ของครูผู้รับผิดชอบว่าไม่เป็นพิษภัยต่อผู้เล่น และเป็นการสร้างเสริมความคิดสร้างสรรค์ที่ดีให้กับเด็ก.........
........5. ใช้แผนการสอนแบบ ICT บูรณาการเรียนรู้ในสาระวิชาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และ คอมพิวเตอร์
........6. จัดระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการเรียนรู้
........7. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดระบบและเผยแพร่ความรู้
........8. จัดระบบข้อมูลสารสนเทศแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน และภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่น
.......9. พัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ในการจัดการเรียนรู้ของผู้สอนที่มาhttp://www.eschool.su.ac.th/school31/web1.htm
บทสรุป.........การนำเอาเทคโนโลยี เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน เป็นการเพิ่มพูน ประสิทธิภาพทางการเรียนรู้แก่ผู้เรียน และในสภาพปัจจุบันการเรียนการสอนก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงสิ่งนี้ได้
ครูจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนของตนเอง ต้องยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้น จึงต้องเรียนรู้เทคโนโลยีต่าง ๆ แล้ววิเคราะห์ความเป็นไปได้ ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ให้เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน ที่มีความพร้อมในระดับหนึ่ง ครูควรต้องพัฒนาตนเองเพื่อพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม และยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อนำพาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ ดำรงตนอยู่ได้อย่างมีความสุขที่มา